อ้วนลงพุง ภัยร้ายใกล้ตัวที่ต้องระวัง

อ้วนลงพุง ภัยร้าย
อ้วนลงพุง โรคอ้วน

ปัญหาที่คนตามใจปากมักเจอ แล้วหนีไม่พ้น คือ โรคอ้วนลงพุง เกิดเป็นโรคเรื้อรังหลายอย่างตามมาได้ ควรควบคุมอาหารและหลีกเลี่ยงอาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ เพื่อสุขภาพที่ดีและชีวิตที่ยืนยาวขึ้น

โรคอ้วนลงพุง คืออะไร

โรคอ้วน คือ การสะสมไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้นมากกว่าความจำเป็นในร่างกาย จะเกิดเป็นอ้วนลงพุง ซึ่งร้อยละไขมันในร่างกาย ชายและหญิงไม่เท่ากัน ในผู้ชาย จะ > 20 และในผู้หญิง จะ > 30  ภาวะโรคอ้วนลงพุงนี้จะเป็นการสะสมไขมันบริเวณช่องท้อง ปัจจุบันมีวิธีวัดไขมันที่หลากหลายรูปแบบ แต่ที่นิยมใช้กันคือการวัดจากดัชนีมวลกาย (BMI) [ค่าดัชนีมวลกาย = น้ำหนัก (กิโลกรัม) / ส่วนสูง (เมตร) /ส่วนสูง (เมตร)]  

ตารางวัดดัชนีมวลกาย

BMI-ตาราง อ้วนลงพุง

ปัจจัยที่ทำให้เกิดอ้วนลงพุง

การเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนลงพุงมีหลากหลายปัจจัยที่คุณเองก็คาดไม่ถึง เพราะเป็นสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำทุกวัน ทำให้มองข้ามสิ่งนี้ไป มีปัจจัยอะไรบ้าง

  • กรรมพันธุ์
  • การรับประทานอาหารที่มีพลังงานสูงเกินความต้องการของร่างกาย 
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • อดนอนเป็นประจำ
  • อยู่ในช่วงหยุดและเลิกบุหรี่ 
  • ยาที่ทำให้น้ำหนักขึ้น เช่น ยาจิตเวช ยากันชัก อินซูลิน สเตียรอยด์ 
  • โรคต่อมไร้ท่อ เช่น โรคถุงน้ำในรังไข่ กลุ่มอาการคุชชิ่ง ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ

ผลร้ายจากอ้วนลงพุง

ผลร้ายที่ส่งผลต่อร่างกาย เมื่อเป็นโรคอ้วนลงพุง ได้แก่

  • เกิดโรคร้ายต่าง ๆ ขึ้นโดยไม่รู้ตัว เช่น โรคอ้วน ไขมันอุดตัน โรคหัวใจ โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต ไขมันเกาะตับ มะเร็ง โรคนิ่วในถุงน้ำดี โรคเกาต์ โรคข้อเสื่อม โรคผิวหนัง และเชื้อรา
  • รอบเอวที่เคยมีจะเพิ่มขึ้นทุก ๆ 5 เซนติเมตร อีกทั้งยังเสี่ยงเป็นโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคเบาหวาน 3 – 5 เท่า

อ่านเพิ่มเติม : พุง ของคุณเป็นแบบไหน เกิดจากสาเหตุไหน

โรค อ้วนลงพุง การวัดเอว

วิธีวัดอ้วนลงพุง

การวัดโรคอ้วนลงพุงจะวัดในท่ายืนตรงขณะหายใจออก และควรวัดในตอนเช้าก่อนกินอาหาร โดยวัดที่จุดกึ่งกลางระหว่างขอบล่างของซี่โครงสุดท้ายถึงจุดสูงสุดของกระดูกสะโพก (Iliac Crest) ซึ่งเส้นรอบเอวมีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกาย ใช้ทำนายการเกิดโรคแทรกซ้อนจากโรคอ้วนได้ดี

ป้องกันโรคอ้วนลงพุง

อ้วนลงพุง สามารถป้องกันไม่ให้เกิดได้ โดยมีวิธีการ ดังนี้

ออกกำลังกาย

ประมาณวันละ 30 นาทีขึ้นไป 5 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือคนทำงานในออฟฟิศควรพักเพื่อทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวระหว่างวัน

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารให้ถูกต้อง

การรับประทานอาหารแบบพอดี จะช่วยให้ลดการเสี่ยงเป็นโรคอ้วนลงพุงได้ 

การใช้ยาลดน้ำหนัก 

เมื่อดัชนีน้ำหนักตัวมากกว่า 30 หรือมากกว่า 27 ถ้ามีโรคที่กระทบจากความอ้วน

การรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อลดขนาดกระเพาะอาหาร (Bariatric Surgery)

เฉพาะผู้ป่วยที่มีความอ้วนขั้นรุนแรง BMI >40 kg/m2 หรือ BMI >35 kg/m2 ร่วมกับมีผลกระทบต่อสุขภาพที่มาจากโรคอ้วน มีหลายวิธี

ป้องกันโรคอ้วนลงพุงแบบ RWC 

ที่ RWC Clinic มีนวัตกรรมที่ทันสมัย ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคอ้วนลงพุง ได้แก่ สลายไขมันด้วยความเย็น, Morpheus 8, ดูดไขมันหน้าท้อง และ Emsculpt

อ่านเพิ่มเติม : [แนะนำ] วิธีลดหน้าท้อง สำหรับมือใหม่

สรุป

โรคอ้วนลงพุง สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน หากไม่ระมัดระวังในเรื่องการกิน จะส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา แต่หากต้องการรักษา หรือป้องกันที่ RWC Clinic สามารถให้คำปรึกษา และดูแลทุกท่านได้ โดยแพทย์ที่มีประสบการณ์และมีเชี่ยวชาญอย่างแท้จริง

CONTACT FOR SPECIAL PRIVILEGES

กดด้านล่างติดเราเพื่อสอบถามรายละเอียดเเละสิทธิ์อื่นๆ

โทร RWC
line rwc
Facebook rwc
โทร RWC
Facebook rwc
line rwc

ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง RWC Clinic

ทีมแพทย์ RWC

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า