ฟิลเลอร์เน่า อันตรายไหม ? แก้ไขได้อย่างไร ?

ฟิลเลอร์เน่า

ฉีดฟิลเลอร์แล้วย่อยสลายไม่หมด หรือไม่สามารถย่อยสลายได้ ทำให้ ฟิลเลอร์เน่า เกิดผลกระทบกับผิวรอบข้าง เนื่องมาจากฟิลเลอร์นั้นไม่สลายไป เกิดจากการฉีดสารเติมเต็มที่ไม่ได้มาตรฐานหรือฟิลเลอร์ปลอม และคั่งค้างอยู่ในร่างกายจนเกิดการเน่า หากไม่รีบทำการแก้ไขจะเกิดอันตรายมากได้

สารบัญ

รู้จักฟิลเลอร์ เพื่อให้ฉีดฟิลเลอร์อย่างปลอดภัย ได้ที่นี่!

ฟิลเลอร์ปลอม สาเหตุของ ฟิลเลอร์เน่า

เชื่อว่าทุกคนเคยได้ยินเรื่อง อันตรายของฟิลเลอร์ปลอมมาบ้าง ว่ามีผลกระทบและผลเสียอย่างไร เหตุผลหลักที่ต้องระมัดระวังฟิลเลอร์ปลอม เพราะเมื่อฟิลเลอร์ปลอมเข้าสู่ร่างกายในระยะเวลาหนึ่ง จะไม่สลายเหมือนกับฟิลเลอร์แท้ ซึ่งเมื่อสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในร่างกายแล้วไม่สลาย

โดยเริ่มจับเป็นก้อน กลายเป็นซิลิโคนเหลวที่เกาะแน่นกับกระดูก สามารถสังเกตได้เมื่อถึงระยะเวลาในการสลายฟิลเลอร์แล้วยังรู้สึกเหมือนมีก้อนอยู่ภายในร่างกาย มีการย้อยหรือบวมผิดรูป แสดงว่าได้ถูกฉีดฟิลเลอร์ปลอมแล้ว สามารถนำฟิลเลอร์ปลอมออกได้ด้วยการขูดฟิลเลอร์หรือการผ่าตัดนำฟิลเลอร์ออก

อาการ ฟิลเลอร์เน่า

มีรายงานว่าฉีดฟิลเลอร์และทำให้เกิดผลข้างเคียงเยอะ ได้แก่ ตาบอด จมูกเน่า ผิวหนังตายซึ่งทำให้คนจำนวนมากเกิดกลัว มีมาตั้งแต่ยุคฉีดฟิลเลอร์ยุคแรกๆ จึงสรุปได้ง่ายๆ หลังจากที่ฉีดจะต้องสังเกตตัวเอง เพราะเมื่อเกิดการอุดตันหลอดเลือดดำ ผิวหนังจะค่อนข้างแดงหรือคล้ำ สีผิวจะเปลี่ยนเป็นสีเข้ม ไม่ใช้สีซีดเหมือนอุดตันหลอดเลือดแดง

หากเกิดผลข้างเคียงแนะนำให้พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที ไม่ว่าจะเวลาใด เพื่อทำการแก้ไข ณ ตอนนั้นทันที และผลข้างเคียงอีกเรื่องหนึ่งคือ การติดเชื้อ ซึ่งการติดเชื้อมักจะเกิดขึ้น 3 – 7 วันหลังจากที่ฉีด การติดเชื้อลักษณะจะบวม ช้ำ หรือเป็นหนอง

ซึ่งผลข้างเคียงเหล่านี้ในทางการแพทย์จะให้ ทานยาปฏิชีวนะ และยาลดบวม โอกาสในการติดเชื้อก็จะลดน้อยลงพอสมควร แต่ในกรณีที่ดื้อยา จะมีการทานยาปฏิชีวนะเพิ่มมากกว่า 1 ตัว นอกจากนี้ก็ยังมีผลข้างเคียงอื่นๆ เช่น ผิวหนังเขียว ช้ำ บวม แดง ซึ่งผลข้างเคียงเหล่านี้เกิดได้ปกติหลังจากการที่ฉีดฟิลเลอร์หรือการทำหัตถการทางการแพทย์อยู่แล้ว โดยจะหายเองภายประมาณ 1 – 2 สัปดาห์

ฟิลเลอร์เน่า

อันตรายจากการฉีดฟิลเลอร์

อาการทั่วไป

อาการปกติที่เกิดขึ้นหลังการฉีดฟิลเลอร์ อาจจะมีอาการบวมแดง หรือคันได้ในจุดที่ทำการฉีดฟิลเลอร์เป็นปกติ ให้หลีกเลี่ยงการแตะ การเกา การกดนวดในจุดนั้นๆ อาการต่างๆจะค่อยดีขึ้นภายใน 2-3 วัน

แต่อันตรายที่หลายคนกังวล ส่วนมากจะเป็นพวกรอยเขียวช้ำ รอยเข็มที่เกิดจากการฉีดฟิลเลอร์  หรือเกิดจากการฉีดฟิลเลอร์โดนเส้นเลือด ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นคลื่น สามารถแก้ไขหรือหายไปเองได้ ซึ่งสาเหตุนั้นเกิดจากเทคนิคการฉีดของแพทย์

อันตรายแบบรุนแรง

ที่หลายคนสนใจและถามว่า ฉีดฟิลเลอร์อันตรายไหม อันตรายที่รุนแรงจากการฉีดฟิลเลอร์ คือ การฉีดฟิลเลอร์แล้วอุดตันในเส้นเลือดและเส้นประสาทบนบนใบหน้า ที่ทำให้เกิดอาการเนื้อตาย จากการที่เลือดไม่สามารถไปหล่อบริเวณนั้นได้ 

อาจทำให้ฟิลเลอร์เข้าไปในเส้นเลือดแดง และฟิลเลอร์อุดตันเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณดวงตา ส่งผลให้จอประสาทตาตาย (Retinal Artery Occlusion) มักจะมีอาการปวดหัวหรือกระบอกตาร่วมด้วยทันทีหลังฉีด ทำให้เกิดอาการตาพร่ามัวและตาบอด retinal artery occlusion ได้ ดังนั้นการฉีดฟิลเลอร์จึงต้องอาศัยความเชี่ยวชาญอย่างมาก

ฉีดฟิลเลอร์ อันตรายไหม

ตัวอย่างอาการร้ายแรงที่เกิดจากฟิลเลอร์

เนื้อตาย 

เป็นภาวะที่เนื้อเยื่อบางส่วนของร่างกายตายจนทำให้เกิดการเน่า เนื้อตายนั้นเกิดจากการอุดตันในเส้นเลือด (necrosis) โดยอาจมีอาการบวมหรือเกิดเป็นตุ่มพองขึ้น เกิดจากเนื้อเยื่อขาดเลือดหรือได้รับเลือดไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดภาวะช็อกและเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

การอักเสบติดเชื้อ (infection)

ขึ้นอยู่กับเทคนิคการฉีดของแพทย์แต่ละคลินิก และพบได้บ่อยในเคสที่ฉีดโดยหมอกระเป๋า หรือคลินิกเถื่อน

การย้อยเป็นก้อนแข็ง (migration)

ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนบวม แข็ง ย่อยสลายไม่หมด หรือไม่สามารถย่อยสลายได้

ฟิลเลอร์เน่า ฟิลเลอร์แท้

การตรวจสอบฟิลเลอร์แท้หรือปลอม เพื่อป้องกัน ฟิลเลอร์เน่า

ในการเลือกฉีดฟิลเลอร์ สิ่งแรกที่ต้องให้ความสำคัญคือ ฟิลเลอร์ที่เราฉีดเป็นฟิลเลอร์แท้หรือไม่ ? การฉีดฟิลเลอร์ทุกครั้งจะต้องมั่นใจได้ว่าฟิลเลอร์ที่เราฉีดนั้น ได้รับการรับรองและตรวจสอบมาตรฐานโดยองค์การอาหารและยาประเทศไทย

เราสามารถขอเอกสารกำกับยา ของฟิลเลอร์ที่เราฉีดได้ โดยเอกสารกำกับยาที่ถูกต้องจะต้องเป็นเอกสารกำกับยาภาษาไทยเท่านั้น เพราะแปลว่าได้รับการรับรองและตรวจสอบมาตรฐานโดยองค์การอาหารและยาประเทศไทย

ฟิลเลอร์ปลอม คือฟิลเลอร์ที่ฉีดแล้วไหลย้อย หรือเป็นก้อนแข็ง(ซิลิโคนเหลว) ฉีดแล้วไม่สลาย หรือ สลายไวกว่าอายุจริงของฟิลเลอร์ อยู่ได้ไม่นาน นั่นเป็นฟิลเลอร์ของปลอม หรือฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มาตรฐาน

เราต้องทราบ วิธีการตรวจสอบฟิลเลอร์แท้หรือปลอม หรือวิธีการสังเกตฟิลเลอร์เบื้องต้น เพื่อป้องกันการถูกหลอกลวง สำหรับกรณี ของแท้จากต่างประเทศ แต่ลักลอบหิ้วเข้ามาฉีด โดยปกติกระบวนการเก็บรักษา ในกระบวนการหิ้วฟิลเลอร์หนีภาษีจากต่างประเทศนั้น ต้องขนส่งหลายต่อ อาจทำให้ฟิลเลอร์เสื่อมไม่ได้คุณภาพ

วิดีโอ : อัปเดตฟิลเลอร์ผ่าน อย.ไทย ทุกแบรนด์ ทุกรุ่น

ฟิลเลอร์เน่า รักษาอย่างไร

ฟิลเลอรืเน่า ที่เกิดจากการฉีดสารฟิลเลอร์ปลอม มีวิธีการรักษาคือ การผ่าตัดเอาฟิลเลอร์ออก หลังจากนั้นก็รักษาตามอาการ ทั้งนี้การผ่าตัดจำเป็นต้องระมัดระวังในเรื่องของเส้นประสาท และเส้นเลือดที่สำคัญต่าง ๆ อีกด้วย

สรุป ฟิลเลอร์เน่า

ฟิลเลอร์เน่า เกิดจากฟิลเลอร์ที่ฉีดเข้าไปนั้นไม่ได้ย่อยสลายไปจนหมด หรือ ไม่สามารถย่อยสลายได้ สามารถฉีดย่อยสลายฟิลเลอร์ได้หากใช้ฟิลเลอร์แท้ แต่ถ้าหากใช้ฟิลเลอร์ปลอมในการฉีด ต้องผ่าตัดหรือทำการขูดออกเท่านั้น

บทความแนะนำสำหรับผู้สนใจฟิลเลอร์

ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง RWC Clinic

ทีมแพทย์ RWC

บทความยอดนิยม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า