ในปัจจุบันมีหลายคนให้ความสนใจกับการดูดไขมัน จึงอยากทราบว่า ดูดไขมัน อันตรายไหม ซึ่งการดูดไขมัน ที่ได้มาตรฐานส่วนใหญ่ในปัจจุบันได้มีการคิดค้นเครื่องมือใหม่ที่จะช่วยให้ททำการดูดง่ายขึ้น ทำให้แพทย์ทำงานได้สะดวกขึ้น และเกิดผลข้างเคียงกับผู้เข้ารับการดูดไขมันน้อยลง
สารบัญ
- การดูดไขมัน คืออะไร
- การดูดไขมัน อันตรายไหม
- วิธีดูดไขมันเหมาะกับปัญหาใดบ้าง
- อันตรายจากการดูดไขมัน
- อาการที่เจอได้หลังจากดูดไขมัน
การดูดไขมันคืออะไร อันตรายหรือไม่ >>อ่านที่นี่<<
การดูดไขมัน คืออะไร ?
การดูดไขมัน จัดเป็นวิธีการกำจัดไขมันส่วนเกิน ที่ได้รับการรับรองได้มาตรฐาน และมีความปลอดภัย การดูดไขมัน เป็นเทคนิคการลดไขมันที่สะสมในส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยการใช้ท่อขนาดเล็กสอดเข้าไปในชั้นผิวหนังและ ดูดไขมันส่วนเกินออก ในปัจจุบันก็สามารถทำได้โดยใช้เพียงแค่รอยเจาะเล็กๆ ซ่อนในตำแหน่งที่เหมาะสมและใช้เครื่องมือสอดเข้าไปใต้ชั้นผิวหนังในระดับชั้นไขมัน
ปัจจุบันนี้การใช้คลื่นความถี่สูงได้มีการพัฒนาดีขึ้นมาก และการใช้แรงดันน้ำอาศัยหลักการฉีดน้ำปริมาณมากเพื่อช่วยให้ผิวหนังชาและไขมัน อ่อนตัว แต่หลังผ่าตัดอาจมีน้ำเกลือหรือไขมันที่ตกค้างอยู่จะค่อยๆ ระบายออกมาหลังผ่าตัดได้ ถ้าผู้ป่วยได้รับการแนะนำก่อนก็จะไม่ต้องกังวลกับปัญหานี้ ซึ่งผู้ที่ต้องการเข้ารับการดูดไขมัน อาจต้องเลือกสถานที่สำหรับการ ดูดไขมัน ให้มีมาตรฐาน และมีความปลอดภัย
ดูดไขมัน อันตรายไหม ?
การ ดูดไขมัน เป็นหนึ่งในกระบวนการผ่าตัดที่มีความเสี่ยง ซึ่งผู้เข้ารับการ ดูดไขมัน ต้องเป็นผู้ที่มีสุขภาพดี โดยที่อย่างน้อยต้องมีน้ำหนักตัวใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ มีผิวหนังที่เด้งกระชับ ไม่สูบบุหรี่ นอกจากนั้น แพทย์จะไม่แนะนำให้ดูดไขมัน หากมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ เช่น การไหลเวียนโลหิต โรคหัวใจ โรคเบาหวาน หรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง
เปรียบเทียบการดูดไขมัน กับ สลายไขมันด้วยความเย็น
ดูดไขมันออกมาในปริมาณที่มากเกินไป
การดูดไขมันในแต่ละครั้งไม่ควรเกิน 5,000 cc เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอันตรายจาการเสียเลือด และน้ำของร่างกายในปริมาณที่มากเกินไป เนื่องจากส่วนประกอบของไขมันไม่ได้มีเพียงแค่ไขมันอย่างเดียว ยังมีเลือดและน้ำเป็นส่วนประกอบด้วย ที่สำคัญการดูดไขมันนั้นไม่ใช่การลดน้ำหนัก ต้องการดูดออกมาปริมาณมากๆ เพื่อให้ร่างกายดูเล็กลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่สามารถทำได้
ดูดไขมันแล้วติดเชื้อ
ดูดไขมันแล้วติดเชื้อ มาจากการดูดไขมันปริมาณมากจนไม่เหลือไขมันใต้ผิว จนผิวแห้งติดกระดูก ไม่นุ่มนวล หรือเกิดการทำลายระบบเส้นเลือดมากไปจนทำให้เกิดเนื้อตายและติดเชื้อตามมา หรือมาจากความไม่สะอาดของอุปกรณ์ในการดูดไขมัน เพราะอุปกรณ์ดูดไขมันเป็นท่อกลวง การล้างทำความสะอาดภายในท่อถือเป็นเรื่องยาก ไขมันอาจจแห้งเขรอะสะสมในท่อนั้น อาจไม่ได้ทำความสะอาดอย่างหมดจด แม้จะนำไปอบนึ่งฆ่าเชื้อแล้ว
โดยวิธีการทำความสะอาดที่ถูกต้อง คือ เริ่มตั้งแต่ในห้องผ่าตัด ที่ศัลยแพทย์จะต้องทราบว่าทุกครั้งที่เสร็จงาน ต้องดูดน้ำเปล่าเข้าไปสักพัก ถือเป็นการล้างคราบไขมัน หลังจากนั้นจะต้องมีน้ำยาสำหรับช่วยย่อยไขมัน จนไขมันละลายออกมาก นำไปล้างด้วยเครื่องพ่นน้ำแรงดันสูง ก่อนจะพร้อมสำหรับอบนึ่งฆ่าเชื้อ
บวมช้ำ ผิวหนังไม่เรียบ พังผืดเกาะแข็ง
การดูดไขมันมากไปจนบางมากมีโอกาสที่จะมาอาการบวมช้ำ และอาการผิวหนังไม่เรียบ โดยบางรายเมื่อลูบจะสังเกตได้เลยว่าเกิดการแข็งตัวใต้ผิวหนัง ทำให้ไม่ราบเรียบ ซึ่งอาจจะเกิดจากการมีพังผืดไปเกาะแข็ง ที่เกิดจากน้ำใต้ผิวแล้วน้ำเหล่านั้นไม่สามารถระบายออกได้ เกิดเป็นก้อนเล็ก หลังการอักเสบ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลานานกว่าจะหาย ต้องนวดช่วยหรือเจาะดูดน้ำออก
กลัวผลข้างเคียงหรือไม่ ลองมาสลายไขมันด้วยความเย็นดูไหม ?
อาการที่เจอได้หลังจากดูดไขมัน
อาการปวด : เนื่องจากการดูดไขมันเป็นการเซาะไขมันที่แพ็กตัวติดกันแน่นในชั้นใต้ผิวหนัง ทำให้มีการกระทบเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง และเกิดการบาดเจ็บ จึงสามารถเกิดอาการปวดขึ้นได้
อาการวิงเวียนศีรษะ : มี 2 สาเหตุ ได้แก่ การสูญเสียน้ำในร่างกายขณะดูดไขมัน และผลข้างเคียงจากยาชา ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยการดื่มน้ำทดแทนน้ำในร่างกายที่เสียไป และเร่งการขับยาชาที่ค้างในร่างกายให้ออกมา
อาการบวม : มี 2 สาเหตุ ได้แก่ อาการบวมจากการบวมน้ำและอาการบวมจากการอักเสบ สามารถเกิดขึ้นได้จาก Tumescent ที่แพทย์ใช้ในการดูดไขมัน ทำให้ร่างกายบวมจากการที่มีน้ำอยู่ภายใน โดยคนไข้ที่ดูดด้วยเครื่องพลังน้ำ (body-jet) จะมีอาการบวมมากกว่าคนไข้ที่ดูดด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์
รอยช้ำม่วง, ช้ำเขียว : เกิดขึ้นได้เนื่องจากมีเม็ดเลือดไปกองในบริเวณนั้นมาก และจะค่อย ๆ กลายเป็นสีเขียวปนเหลืองจาง ๆ โดยรักษาด้วยการทำให้ลิ่มเลือดจางลง
สรุป
ดูดไขมัน อันตรายไหม ? ไม่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถทำได้ทันที หากแพทย์มีจรรยาบรรณมากพอ จะชี้แจงกรณีคนไข้มีความเสี่ยงหรือเกิดอันตรายได้หากทำการดูดไขมันส่วนเกิน รวมไปถึงต้องสำรวจตัวเองด้วยว่าเหมาะกับการดูดไขมันหรือไม่
ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง RWC Clinic
บทความยอดนิยม
- ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาคืออะไร
- ฉีดฟิลเลอร์คาง ดีจริงไหม
- ฉีดไขมันหน้าเด็กคืออะไร
- ทำไมต้องฉีดฟิลเลอร์กับหมอขนม