ฉีดสลายฟิลเลอร์ ทางออกปัญหาฟิลเลอร์ ไม่สวยแก้ไขได้
ฉีดสลายฟิลเลอร์ ทางออกปัญหาฟิลเลอร์

ฉีดสลายฟิลเลอร์ ทางออกปัญหาฟิลเลอร์เป็นก้อน ไม่สวยแก้ไขได้

การฉีดฟิลเลอร์กำลังเป็นที่นิยม แต่อาจเกิดปัญหาฟิลเลอร์เป็นก้อนหรือให้ผลลัพธ์ไม่สวยงาม ส่งผลกระทบต่อความมั่นใจและคุณภาพชีวิต ทว่าปัจจุบันมีทางออกด้วยการ ฉีดสลายฟิลเลอร์ ซึ่งเป็นวิธีแก้ไขที่ปลอดภัยและได้ผลดี โดยใช้สารไฮยาลูโรนิเดสเข้าไปสลายฟิลเลอร์ให้กลายเป็นโมเลกุลเล็กลง จนสามารถขับออกจากร่างกายได้

บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักการ ฉีดสลายฟิลเลอร์ จากกรณีการฉีดฟิลเลอร์มาแล้ว เกิดผลลัพธ์ที่ไม่พึ่งประสงค์  โดยสามารถฉีดสลายเพื่อแก้ไขปัญหาฉีดฟิลเลอร์ผิดตำแหน่ง, เป็นก้อน หรือดูไม่เป็นธรรมชาติกันค่ะ

เลือกอ่านตามหัวข้อ
How to ฉีดสลายฟิลเลอร์

ทำไมต้องฉีดสลายฟิลเลอร์

การฉีดฟิลเลอร์อาจให้ผลลัพธ์ไม่เป็นที่น่าพอใจเสมอไป แม้ว่าจะทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ใช้ฟิลเลอร์แท้ และเทคนิคที่ถูกต้องก็ตาม

เนื่องจากแต่ละบุคคลมีสรีระและการตอบสนองต่อฟิลเลอร์ที่แตกต่างกัน จึงอาจเกิดปัญหาเฉพาะบุคคลได้ เช่น ปัญหาฟิลเลอร์เป็นก้อน ใบหน้าดูไม่เป็นธรรมชาติ หรือการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อความมั่นใจของผู้รับบริการอย่างมาก

การฉีดสลายฟิลเลอร์ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เมื่อเกิดปัญหาดังกล่าว เพื่อสลายฟิลเลอร์ส่วนเกินหรือแก้ไขความผิดปกติที่เกิดขึ้น ช่วยให้ใบหน้ากลับมาดูเป็นธรรมชาติ สวยงาม และช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้รับบริการอีกครั้ง การฉีดสลายฟิลเลอร์ควรทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์สูง เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด

ฉีดสลายฟิลเลอร์เพราะจับตัวเป็นก้อน (Filler Nodule)
  • ฟิลเลอร์เกิดการจับตัวเป็นก้อน (Filler Nodule) ทำให้เกิดตุ่มนูนแข็งใต้ผิวหนัง ดูไม่เรียบเนียนและเป็นธรรมชาติ มักพบบริเวณใดบ้าง เช่น ใต้ตา หน้าผาก แก้ม ปาก เป็นต้น
ฉีดสลายฟิลเลอร์เพราะฉีดมากไป (Overfilled)
  • ฉีดฟิลเลอร์ในปริมาณที่มากเกินไป (Overfilled) จนใบหน้าหรือจุดที่ฉีดดูไม่สมส่วน ไม่เข้ากับรูปหน้าโดยรวม เช่น ฉีดฟิลเลอร์ที่ปากมาก ทำให้กลายเป็นปากกระจับหรือปากเป็ด  ดังนั้น การฉีดฟิลเลอร์ในแต่ละบริเวณ ปริมาณฟิลเลอร์ต้องมีความเหมาะสม ไม่ควรเกินหรือล้นจนเกินไป เพราะอาจทำให้เสียสัดส่วน ดูไม่เป็นธรรมชาติ
ฉีดสลายฟิลเลอร์เพราะไม่ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ
  • ผลลัพธ์ที่ได้ไม่ต้องตามความต้องการ  เช่น รูปหน้าเปลี่ยนไปมาก ไม่เป็นธรรมชาติ หรือไม่ถูกใจเท่าที่หวังไว้ เพราะบางครั้งผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามภาพที่ตกลงกับแพทย์หรือตามที่ผู้ป่วยหวังไว้. อาจเป็นเพราะปัญหาทางเทคนิค ฟิลเลอร์ไม่เข้าที่ หรือไม่เหมาะกับใบหน้า ฉะนั้น ก่อนตัดสินใจฉีด แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ถึงความคาดหวังและผลลัพธ์ที่อาจเป็นไปได้อย่างละเอียด เพื่อให้เข้าใจและยอมรับได้หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติม
ฉีดสลายฟิลเลอร์เพราะเกิดภาวะแทรกซ้อน
  • เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการฉีดฟิลเลอร์ เช่น หลอดเลือดอุดตัน ฟิลเลอร์ย้ายตำแหน่ง หรือเกิดผื่นแพ้ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนจากการฉีดฟิลเลอร์พบได้น้อย แต่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน ถึงแม้จะฉีดกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็ตาม

การฉีดสลายฟิลเลอร์ จะช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสารเอ็นไซม์ไฮยาลูโรนิเดส ( Hyarulonidase :HYAL) ไปละลายฟิลเลอร์ให้หมดไป เพื่อแก้ไขให้ใบหน้ากลับมาเป็นปกติ หรือสามารถเริ่มต้นฉีดฟิลเลอร์ใหม่ได้ในอนาคต

ฉีดสลายฟิลเลอร์ คืออะไร

ฉีดสลายฟิลเลอร์ คือการฉีดสารเอ็นไซม์ไฮยาลูโรนิเดส ( Hyaluronidase :HYAL) เข้าไปทำหน้าที่สลายตัวยาโดยตรง การฉีดสลายฟิลเลอร์เป็นขั้นตอนการรักษาในกรณีเกิดปัญหาจากการฉีดฟิลเลอร์เท่านั้น ไม่ใช่ขั้นตอนที่ต้องทำเป็นประจำ

ฉีดสลายฟิลเลอร์ คืออะไร

สารที่ฉีดสลายฟิลเลอร์นี้จะไปลดคุณสมบัติในการอุ้มน้ำและกักเก็บไขมันของฟิลเลอร์ ทำให้โมเลกุลขนาดเล็กลงจนสลายตัวและถูกขับออกจากร่างกายได้ในที่สุด

โดยการฉีดสลายฟิลเลอร์ด้วยเอ็นไซม์ไฮยาลูโรนิเดส สามารถสลายได้เฉพาะฟิลเลอร์แท้ที่ทำมาจาก HA เท่านั้น เพราะเป็นชนิดเดียวที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของประเทศไทย รับรองให้ใช้สารนี้ในการรักษาได้อย่างปลอดภัย ซึ่งการฉีดสลายฟิลเลอร์ไม่สามารถสลายในกลุ่มซิลิโคน หรือ พาราฟินได้ ต้องทำการขูดออกเท่านั้น

รู้จัก Hyaluronidase

สารไฮยาลูโรนิเดส หรือ Hyaluronidase คือเอนไซม์ที่พบได้ตามธรรมชาติในร่างกายและพืชบางชนิด ทำหน้าที่ในการย่อยสลายกรดไฮยารูโรนิค (Hyaluronic Acid) ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของฟิลเลอร์ชนิด HA ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

Hyaluronidase คืออะไร

เมื่อฉีดสลายฟิลเลอร์ด้วยสาร Hyaluronidase เข้าไปในบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ เอนไซม์นี้จะทำปฏิกิริยากับโมเลกุลของกรดไฮยารูโรนิค ตัดพันธะระหว่างโมเลกุลให้สั้นและเล็กลง โดยปกติแล้ว Hyaluronidase จะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 24 ชั่วโมงหลังฉีดสลายฟิลเลอร์ และจะให้ผลสูงสุดที่ 48 ชั่วโมง ทำให้ฟิลเลอร์ค่อย ๆ สลายไป และกลับสู่สภาพเดิมเหมือนก่อนฉีดภายใน 2 สัปดาห์

การนำสาร Hyaluronidase มาฉีดสลายฟิลเลอร์ เพื่อแก้ไขปัญหาจากการฉีดฟิลเลอร์นั้น ถือเป็นวิธีที่ปลอดภัย เพราะสามารถเร่งการสลายฟิลเลอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ทำลายเซลล์หรือเนื้อเยื่อบริเวณนั้น ทำให้สามารถกลับมาฉีดเพื่อปรับรูปหน้าหรือรูปร่างใหม่ได้อีกในอนาคต

สาเหตุที่ทำให้ฉีดฟิลเลอร์แล้วไม่สวย

สาเหตุที่ฉีดฟิลเลอร์แล้วไม่สวย

ปัญหาการ “ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนบวมไม่สวย” ผลลัพธ์ไม่สวยตามที่ต้องการ ซึ่งปัญหานี้เกิดได้หลายสาเหตุ ดังนี้

  • แพทย์ที่ฉีดไม่เชี่ยวชาญมากพอ เพราะการฉีดฟิลเลอร์เป็นศาสตร์และศิลป์ที่ต้องอาศัยความรู้ ทักษะ และประสบการณ์สูง หากแพทย์ขาดความเชี่ยวชาญ ไม่รู้กายวิภาคและฉีดในตำแหน่งที่เหมาะสม ไม่ได้คำนวณปริมาณ หรือเลือกเทคนิคการฉีดที่เหมาะกับลักษณะใบหน้าแต่ละคน อาจส่งผลให้การฉีดไม่ได้สัดส่วนและรูปทรงตามที่ต้องการ
  • เลือกใช้ชนิดฟิลเลอร์ที่ไม่ตรงกับตำแหน่งที่ฉีด  ฟิลเลอร์แต่ละประเภทมีคุณสมบัติเหมาะกับตำแหน่งที่แตกต่างกัน เช่น ฟิลเลอร์เกรดแข็งเหมาะกับการเสริมโหนกแก้ม แต่ถ้าเอามาฉีดริมฝีปากอาจทำให้เป็นก้อนดูไม่เป็นธรรมชาติ
  • ใช้ฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ฟิลเลอร์ที่ไม่ผ่านการรับรองจาก อย. หรือมาจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ อาจมีส่วนผสมที่ไม่บริสุทธิ์ ส่งผลให้เกิดการแพ้ ระคายเคือง หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
  • แพทย์วางตัวยาผิดชั้น   การฉีดฟิลเลอร์ให้ได้ระดับความลึกที่เหมาะสมกับชั้นผิวหนัง มีความสำคัญมาก หากฉีดตื้นหรือลึกเกินไป อาจทำให้เป็นก้อน หรือฟิลเลอร์ไม่อยู่ทรงนานหรือส่งผลเสียต่อรูปลักษณ์ได้
  • ใช้ปริมาณฟิลเลอร์ไม่เหมาะสมกับปัญหา การใช้ฟิลเลอร์ในปริมาณที่มากหรือน้อยเกินไป จะทำให้ใบหน้าดูไม่สมดุล ไม่เป็นธรรมชาติ 
  • ดูแลตัวเองหลังฉีดฟิลเลอร์ไม่ถูกต้อง  หลังฉีดฟิลเลอร์ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เช่น งดแต่งหน้า งดออกกำลังกายหรือกิจกรรมที่ทำให้เหงื่อออกมาก หลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดจัด งดการนวดหรือกดบริเวณที่ฉีด เป็นต้น หากไม่ปฏิบัติตาม อาจทำให้ฟิลเลอร์เคลื่อนตัว เกิดอาการบวม ช้ำ หรือติดเชื้อได้

ก่อนฉีดฟิลเลอร์ควรเลือกแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูง โดยพิจารณาจากผลงานและชื่อเสียง ใช้ฟิลเลอร์คุณภาพที่ผ่านการรับรองจาก อย. ให้ข้อมูลอย่างละเอียดถึงความคาดหวัง ข้อกังวล ประวัติสุขภาพ แนะนำชนิด ปริมาณ เทคนิคการฉีด ชี้แจงข้อดีข้อเสีย ผลข้างเคียง และข้อควรระวัง

การเลือกแพทย์และผลิตภัณฑ์ดี มีความเข้าใจตรงกัน จะช่วยลดความเสี่ยงที่ต้องแก้ไขด้วยการฉีดสลายฟิลเลอร์ และเพิ่มโอกาสได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

อ่านเพิ่มเติม : ฟิลเลอร์ คืออะไร รวมทุกเรื่องที่ต้องรู้ก่อนฉีด

ปัญหาที่แก้ไขได้ด้วยการฉีดสลายฟิลเลอร์

ปัญหาที่แก้ไขได้ด้วยการฉีดสลายฟิลเลอร์

ปัจจุบันการ ฉีดสลายฟิลเลอร์ ถือเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ได้ผลดีและปลอดภัย ซึ่งสามารถช่วยให้อาการแทรกซ้อนและผลข้างเคียงจากการฉีดฟิลเลอร์ดีขึ้นได้  ซึ่งปัญหาที่สามารถแก้ไขได้ด้วยการฉีดสลายฟิลเลอร์ มีดังนี้

ปัญหาบริเวณใต้ตา

ฉีดสลายฟิลเลอร์แก้ปัญหาบริเวณใต้ตา
  • ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแต่กลายเป็นคนตาช้ำ

เกิดจากแพทย์ฉีดโดนเส้นเลือด หรือใช้เทคนิคที่รุนแรงเกินไป ทำให้เกิดจ้ำเลือดและอาการบวมช้ำ การฉีดสลายฟิลเลอร์จะช่วยย่อยฟิลเลอร์ที่ไปกดทับเส้นเลือด ลดการอักเสบและอาการช้ำได้

  • ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วกลับมีถุงใต้ตาเพิ่ม 

เกิดจากการฉีดในระดับผิวที่ตื้นเกินไป ทำให้ฟิลเลอร์นูนขึ้นมาเหนือกล้ามเนื้อเป็นก้อน การฉีดสลายฟิลเลอร์จะช่วยกำจัดออกไป ทำให้ผิวใต้ตากลับเรียบเนียนเป็นธรรมชาติ

ปัญหาบริเวณร่องแก้ม

ฉีดสลายฟิลเลอร์แก้ปัญหาบริเวณร่องแก้ม
  • ฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มแต่กลับเป็นร่องลึกกว่าเดิม

กรณีนี้ อาจจะเกิดจากการที่แพทย์ฉีดผิดตำแหน่ง หรือฉีดผิดชั้นผิว การฉีดฟิลเลอร์เพื่อเติมเต็มบริเวณร่องแก้มนั้น การเลือกชนิดที่ใช้ก็เป็นส่วนสำคัญเช่นกัน หากใช้ฟิลเลอร์ที่มีความเข้มข้นของสารไฮยารูลอนิกแอซิดที่ต่ำเกินไป อาจจะทำให้บริเวณร่องแก้มนั้น ดูเหมือนกับยังไม่เต็ม เพราะฉีดในชั้นผิวที่ไม่ลึกพอและฟิลเลอร์ไม่เข้มข้นมากพอ หรือฉีดไม่ตรงจุด คือฉีดฟิลเลอร์ลงบริเวณข้างร่องแก้ม เมื่อฟิลเลอร์เข้าที่จึงเป็นการเน้นให้ร่องแก้มยิ่งชัด

การฉีดสลายฟิลเลอร์จะไปสลายตำแหน่งที่ผิดออกไป และสามารถฉีดเติมเต็มร่องแก้มใหม่ได้อย่างถูกวิธี

ปัญหาบริเวณปาก

ฉีดสลายฟิลเลอร์แก้ปัญหาบริเวณปาก
  • ฉีดฟิลเลอร์ปากอวบอิ่มแต่กลายเป็นปากเป็ด

เกิดจากการใช้ปริมาณฟิลเลอร์ที่มากเกินพอดี ทำให้ปากบวมเจ่อดูไม่เป็นธรรมชาติ การฉีดสลายฟิลเลอร์จะย่อยส่วนเกินออกไป ช่วยให้ขนาดและความอูมของปากลดลงจนได้สัดส่วนที่เหมาะสม

ปัญหาบริเวณหน้าผาก

ฉีดสลายฟิลเลอร์แก้ปัญหาบริเวณหน้าผาก
  • ฉีดฟิลเลอร์หน้าผากแต่เป็นคลื่น

เกิดจากการฉีดฟิลเลอร์ซ้ำทับก่อนที่ฟิลเลอร์เก่าจะสลายหมด หรือฉีดในชั้นผิวตื้นเกินไปจนเกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ การฉีดสลายฟิลเลอร์จะไปย่อยและคลายการเกร็งตัว ทำให้หน้าผากกลับมาเรียบสวยเป็นธรรมชาติ

  • ฉีดฟิลเลอร์หน้าผากจนกลายเป็นปลาทอง

เกิดจากการใช้ปริมาณฟิลเลอร์ที่มากเกินไป หรือฉีดฟิลเลอร์ด้อยคุณภาพที่ไม่สลายตัวตามธรรมชาติ การฉีดสลายฟิลเลอร์จะค่อย ๆ ทำปฏิกิริยาการย่อย HA จนหน้าผากกลับมามีสัดส่วนรูปทรงที่เหมาะสมสวยงามอีกครั้ง

ข้อต้องรู้ก่อนไปฉีดสลายฟิลเลอร์

ข้อต้องรู้ก่อนไปฉีดสลายฟิลเลอร์

ก่อนตัดสินใจฉีดสลายฟิลเลอร์ มีข้อมูลสำคัญที่ควรทราบสำหรับการเตรียมตัวและปรึกษาแพทย์ให้ถูกต้อง เพื่อให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัยที่สุด ข้อต้องรู้ก่อนไปฉีดสลายฟิลเลอร์ มีอะไรบ้าง ดังนี้

ชนิดของฟิลเลอร์ที่เคยฉีด

การฉีดสลายฟิลเลอร์ ต้องแน่ใจว่าเป็นฟิลเลอร์ชนิดไฮยารูโรนิค (HA) เท่านั้น เพราะเป็นชนิดเดียวที่สามารถสลายได้ด้วยสาร Hyaluronidase

ส่วนชนิดอื่น ๆ เช่น Semi Permanent Filler (แบบกึ่งถาวร) และ Permanent Filler (แบบถาวร)  ซิลิโคน พาราฟิน เป็นสารฟิลเลอร์ที่สามารถอยู่ได้ถาวร ไม่สามารถสลายเอง หรือฉีดสลายฟิลเลอร์ออกได้ ต้องขูดหรือผ่าตัดออกอย่างเดียวค่ะ ซึ่งมีความเสี่ยงที่ค่อนข้างสูง แพทย์จึงไม่แนะนำ

ปริมาณฟิลเลอร์ที่เคยฉีด

เพราะยิ่งฉีดมากก็อาจต้องใช้สาร Hyaluronidase ในปริมาณที่มากขึ้นตามไปด้วย เพื่อให้ไปสลายฟิลเลอร์ได้หมด และพอดีกับตัวยาฟิลเลอร์ค่ะ

ระยะเวลาที่ฉีดฟิลเลอร์

ปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาก่อนฉีดสลายฟิลเลอร์ เพราะระยะเวลาที่ฟิลเลอร์อยู่ใต้ผิวหนังนานเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสที่ฟิลเลอร์จะจับตัวแน่น เกิดการสร้างคอลลาเจนหุ้มรอบมากขึ้นเท่านั้น

ในกรณีที่ฉีดฟิลเลอร์มาเป็นเวลานาน ตั้งแต่ 1-2 ปีขึ้นไป อาจทำให้สาร Hyaluronidase ทำงานได้ยากลำบากมากขึ้น ต้องใช้ความพยายามและระยะเวลาในการสลายฟิลเลอร์นานกว่าปกติ หรือต้องฉีดสลายหลายครั้งถึงจะเห็นผลชัดเจน โดยทั่วไปจะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงได้ภายใน 1-2 วันหลังการฉีดสลายฟิลเลอร์ และจะเห็นผลชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ ภายใน 1-2 สัปดาห์

บริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์

อีกหนึ่งปัจจัยที่มีความสำคัญมากในการวางแผนฉีดสลายฟิลเลอร์ เพราะแต่ละบริเวณบนร่างกายจะมีโครงสร้างทางกายวิภาคที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น ชั้นของผิวหนัง ชั้นไขมัน กล้ามเนื้อ รวมถึงเส้นประสาทและหลอดเลือด

ตัวอย่างเช่น บริเวณใต้ตา ร่องแก้ม หรือหน้าผาก จะมีผิวหนังบาง ชั้นไขมันน้อย และมีเส้นประสาทกับหลอดเลือดผ่านมาก เป็นจุดที่ค่อนข้างบอบบาง ต้องใช้ความระมัดระวังในการฉีดสลายฟิลเลอร์เป็นพิเศษ เพราะหากไปกระตุ้นหรือทำลายเส้นประสาทหรือหลอดเลือดเหล่านั้น อาจทำให้เกิดอาการชา เจ็บ หรือเลือดออกได้ เป็นต้น

ดังนั้น การศึกษาหรือรูข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้แพทย์สามารถประเมินสภาพปัญหา กำหนดขนาดยาที่ใช้สลายฟิลเลอร์ได้พอเหมาะ และคาดการณ์ระยะเวลาในการรักษา รวมถึงให้คำแนะนำเฉพาะบุคคลได้ดียิ่งขึ้น เพื่อผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด

ฉีดสลายฟิลเลอร์ อันตรายไหม

โดยทั่วไปแล้ว การฉีดสลายฟิลเลอร์ถือเป็นหัตถการที่มีความปลอดภัยสูง ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นพบได้น้อยมาก และมักไม่รุนแรง อาการที่พบได้บ่อย ได้แก่ บวม แดง หรือคันเล็กน้อยบริเวณที่ฉีด ซึ่งจะทุเลาลงและหายไปได้เองภายใน 1-2 วันหลังฉีดสลายฟิลเลอร์ โดยไม่ต้องให้การรักษาเพิ่มเติม

ฉีดสลายฟิลเลอร์ อันตรายไหม

แต่ถึงการฉีดสลายฟิลเลอร์จะมีความเสี่ยงต่ำ ก็ยังมีโอกาสที่จะเกิดผลข้างเคียงรุนแรงได้ในบางกรณี เช่น การแพ้สาร Hyaluronidase, การติดเชื้อบริเวณที่ฉีดสลายฟิลเลอร์, หรือมีเลือดออกใต้ผิวหนัง (ฟกช้ำ) เป็นบริเวณกว้าง ซึ่งอาการเหล่านี้พบได้น้อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออยู่ในการดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

สามารถสบายใจได้ว่าการฉีดสลายฟิลเลอร์เป็นวิธีที่ค่อนข้างปลอดภัย ไม่ค่อยพบอาการข้างเคียงที่น่ากังวล แต่เพื่อความไม่ประมาท หากมีอาการผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้นหลังการฉีดสลายฟิลเลอร์ เช่น บวมมาก ปวดมาก มีไข้ มีผื่นแดงคันลามกว้าง หรือมีอาการอื่น ๆ ที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ควรรีบกลับไปพบแพทย์ทันทีนะคะ เพื่อให้ได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงตามมาค่ะ

ผลข้างเคียงหลังฉีดสลายฟิลเลอร์

ผลข้างเคียงหลังฉีดสลายฟิลเลอร์

ฉีดสลายฟิลเลอร์ เป็นหัตถการที่มักใช้ในกรณีที่ไม่พอใจผลลัพธ์ หรือเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยทั่วไปแล้วการฉีดสลายฟิลเลอร์ถือเป็นหัตถการที่ค่อนข้างปลอดภัย แต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงได้เช่นกัน ซึ่งผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • อาการบวม แดง เจ็บ บริเวณที่ฉีด เกิดจากปฏิกิริยาการอักเสบชั่วคราว มักจะดีขึ้นได้เองใน 1-2 วัน
  • อาจมีจ้ำเลือดหรือรอยช้ำขนาดเล็กบริเวณที่ฉีด ซึ่งเกิดได้จากเข็มฉีดยาหรือการกดทับ สามารถหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์
  • ในบางคนอาการคัน ลมพิษ ผื่นแดง ซึ่งเป็นปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่อสารฉีดสลายฟิลเลอร์ได้ อาจต้องให้ยาแก้แพ้
  • การติดเชื้อบริเวณที่ฉีด พบได้น้อยมาก แต่หากเกิดขึ้นต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
  • ในกรณีที่สลายฟิลเลอร์มากเกินไป อาจทำให้เกิดการยุบตัวของเนื้อเยื่อ ต้องเสริมฟิลเลอร์ใหม่เพิ่มเติม

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงหลังฉีดสลายฟิลเลอร์มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฉีดรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองคุณภาพแล้ว และเพื่อลดความเสี่ยงให้น้อยที่สุด หากมีอาการผิดปกติใด ๆ หลังฉีดสลายฟิลเลอร์ ควรรีบกลับไปพบแพทย์ทันทีนะคะ

ผู้ที่ยังไม่ควรฉีดสลายฟิลเลอร์

ผู้ที่ไม่ควรฉีดสลายฟิลเลอร์

แม้การฉีดสลายฟิลเลอร์จะเป็นหัตถการที่ค่อนข้างปลอดภัย แต่ก็ไม่เหมาะสำหรับทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนดังต่อไปนี้

  • ผู้ที่มีประวัติแพ้สารไฮยาลูโรนิเดส ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของยาสลายฟิลเลอร์ เพราะอาจเกิดอาการแพ้รุนแรงได้
  • ผู้ที่กำลังใช้ยาละลายลิ่มเลือด หรือผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด เลือดออกง่าย  มีความเสี่ยงต่อการมีเลือดออกผิดปกติหากฉีดสลายฟิลเลอร์ โดยเฉพาะถ้าเกิดจากการบาดเจ็บซ้ำ
  • ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ลูปัส เอสแอลอี มีแนวโน้มที่จะเกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
  • ผู้ที่เคยมีประวัติเป็นโรคเริม งูสวัด หรือการติดเชื้อไวรัสบริเวณใบหน้ามาก่อน การฉีดสลายฟิลเลอร์อาจไปกระตุ้นให้เกิดการกำเริบของโรคได้ ด้วยการกระตุ้นเชื้อไวรัสที่หลบซ่อนอยู่ในเส้นประสาท ให้ตื่นขึ้นมาทำร้ายผิวได้ใหม่
  • ผู้สูงอายุที่ผิวหนังเสื่อมสภาพมาก เพราะอาจส่งผลให้ผิวยิ่งอ่อนแอและเหี่ยวย่นได้ง่ายขึ้น

และกลุ่มที่ต้องระวังการฉีดสลายฟิลเลอร์เป็นพิเศษ ได้แก่ ผู้ที่เคยทำศัลยกรรมหรือฉีดสารอื่น ๆ บริเวณที่ต้องการฉีดมาก่อน เพราะจะทำให้ประเมินได้ยากขึ้น, ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ หรือมีแผนจะตั้งครรภ์ในอนาคตอันใกล้ จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและซักประวัติให้ละเอียดก่อนทำการฉีดสลายฟิลเลอร์ทุกครั้ง หากอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงดังกล่าว แพทย์จะแนะนำทางเลือกอื่นที่เหมาะสมและปลอดภัยกว่านั่นเองค่ะ

การดูแลตัวเองก่อนฉีดสลายฟิลเลอร์

การดูแลตัวเองก่อนฉีดสลายฟิลเลอร์

การฉีดสลายฟิลเลอร์ช่วยแก้ปัญหาจากการฉีดฟิลเลอร์ที่ไม่เป็นไปตามต้องการ อย่างไรก็ตาม เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดและความปลอดภัย สิ่งสำคัญคือการเตรียมความพร้อมก่อนเข้ารับการฉีด โดยการดูแลตัวเองก่อนฉีดสลายฟิลเลอร์ มีดังนี้

  • ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อประเมินความเหมาะสมและความเสี่ยง รวมถึงซักประวัติการแพ้ยา โรคประจำตัว และยาที่ใช้อยู่
  • หยุดยาที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการมีเลือดออก เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน วิตามินอี ก่อนทำอย่างน้อย 1 สัปดาห์
  • ก่อนทำ 1 สัปดาห์ แนะนำหลีกเลี่ยงการทานอาหารหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อาจทำให้เลือดออกง่าย เช่น กระเทียม น้ำมันปลา โสม ใบแปะก๊วย 
  • งดดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนฉีดสลายฟิลเลอร์ เพื่อลดความเสี่ยงของภาวะเลือดออก
  • ทำความสะอาดใบหน้าให้เรียบร้อยก่อนไปทำ และงดใช้เครื่องสำอางหรือครีมบำรุงผิวในวันนัดหมาย

การดูแลตัวเองหลังฉีดสลายฟิลเลอร์

การดูแลตัวเองหลังฉีดสลายฟิลเลอร์

หลังจากฉีดสลายฟิลเลอร์แล้ว การดูแลตัวเองอย่างถูกวิธีเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผิวหนังฟื้นตัวได้เร็ว ลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อน และทำให้ผลลัพธ์เป็นไปตามที่คาดหวัง โดยการดูแลตัวเองหลังฉีดสลายฟิลเลอร์ มีข้อแนะนำดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือนวดบริเวณที่ฉีดสลายเป็นเวลาอย่างน้อย 24-48 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการระคายเคืองหรือการติดเชื้อ
  • ประคบเย็นบริเวณที่ฉีดสลายฟิลเลอร์วันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 10-15 นาที เพื่อบรรเทาอาการบวมแดง
  • หากมีอาการปวด สามารถรับประทานยาแก้ปวดชนิดไม่มีส่วนผสมของแอสไพริน เช่น พาราเซตามอล เพื่อลดอาการได้
  • พักผ่อนให้เพียงพอ งดกิจกรรมหรือการออกกำลังกายที่มีการฝืนหรือกระแทกบริเวณใบหน้าอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์หลังฉีดสลายฟิลเลอร์
  • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ระคายเคืองผิว รวมถึงการอาบน้ำร้อนหรืออบซาวน่าเป็นเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ เนื่องจากผิวหนังบริเวณที่ทำการฉีดสลายจะมีความบอบบางและไวต่อการระคายเคืองมากกว่าปกติ

เพราะการอาบน้ำร้อนจัดหรืออบซาวน่า จะทำให้เกิดการขยายตัวของหลอดเลือดใต้ผิวหนังและกระตุ้นให้เกิดการอักเสบบริเวณที่ฉีดสลายได้ง่าย รวมถึงความร้อนและความชื้นที่สูงอาจเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อในผิวหนังที่มีบาดแผลจากการฉีดสลายฟิลเลอร์อีกด้วย

  • ทาครีมกันแดด SPF30 ขึ้นไปเป็นประจำ และหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดโดยตรงเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน เพื่อป้องกันผิวคล้ำเสียหรือการสร้างเม็ดสีที่ไม่สม่ำเสมอ
  • ไม่ควรฉีดฟิลเลอร์ซ้ำในบริเวณที่เพิ่งฉีดสลายไปอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการเกิดพังผืดหรือเนื้อเยื่อแข็ง
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อผิวพรรณ เช่น ผักผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี เพื่อเร่งการฟื้นฟูเซลล์ผิว
  • พบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามผลการรักษา หรือเข้ารับการประเมินผลเมื่อครบ 1-2 สัปดาห์หลังฉีดสลายฟิลเลอร์

สำคัญ หมั่นสังเกตอาการผิดปกติหลังฉีดสลายฟิลเลอร์ เช่น ผื่นแดง คัน มีก้อนแข็ง หรือปวดบวมมากขึ้นเรื่อย ๆ หากเกิดขึ้นควรรีบกลับไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษานะคะ

ระยะเวลาเห็นผลหลังฉีดสลายฟิลเลอร์

ผลลัพธ์ 24-48 ชั่วโมงหลังฉีดสลายฟิลเลอร์

หลังจากฉีดสลายฟิลเลอร์ จะเห็นผลลัพธ์ใน 24-48 ชั่วโมง และผลลัพธ์ชัดเจนที่สุด 1-2 สัปดาห์ ทั้งนี้ระยะเวลาที่ใช้ในการสลายฟิลเลอร์ให้หมดและจำนวนครั้งของการฉีดซ้ำ จะแตกต่างกันไปตามปริมาณของฟิลเลอร์ที่เป็นปัญหา

ผลลัพธ์ 1-2 สัปดาห์หลังฉีดสลายฟิลเลอร์

สำหรับกรณีที่มีฟิลเลอร์จำนวนมาก แพทย์อาจแนะนำให้ฉีดสลายฟิลเลอร์ซ้ำ ได้สูงสุดถึง 2-3 ครั้ง โดยเว้นระยะห่างระหว่างการฉีดแต่ละครั้งประมาณ 1 สัปดาห์ ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมให้เอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดสได้ออกฤทธิ์ย่อยสลายโมเลกุลของฟิลเลอร์ได้เต็มที่ ก่อนที่จะทำการประเมินผลและพิจารณาความจำเป็นในการฉีดสลายฟิลเลอร์เพิ่มครั้งต่อไป

ฉีดสลายฟิลเลอร์ซ้ำ 2-3 ครั้ง

นอกจากความถี่ของการฉีดสลายแล้ว ปริมาณของเอนไซม์ที่ใช้ฉีดสลายฟิลเลอร์แต่ละครั้ง ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้การรักษาได้ผลดีและปลอดภัย

โดยแพทย์จะคำนวณขนาดยาที่เหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคล ตามลักษณะของฟิลเลอร์ที่ต้องการสลาย ทั้งชนิด ความเข้มข้น ปริมาตร และตำแหน่งที่ฉีด เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการสลายฟิลเลอร์ที่ไม่พึงประสงค์ให้หมดไป โดยไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงหรืออาการแทรกซ้อนที่ไม่จำเป็น

วิธีการสลายฟิลเลอร์

โดยปกติวิธีการฉีดสลายฟิลเลอร์ที่เป็นก้อน จะมีอยู่ด้วยกัน 3 วิธี ซึ่งจะใช้วิธีใดในการแก้ไขนั้นก็ต้องปรึกษาแพทย์ที่ทำการรักษา กันก่อนว่ามีวิธีใดกันบ้างแล้วเราเหมาะสมที่แก้ไขปัญหาด้วยวิธีใดมากที่สุด

1. การฉีดสลายฟิลเลอร์

การฉีดสลายฟิลเลอร์

สำหรับวิธีสลายฟิลเลอร์นี้ จะใช้ได้เฉพาะกับฟิลเลอร์ที่สลายตัวได้ หรือ ฟิลเลอร์กลุ่ม Hyaluronic Acid: HA  โดยสารที่ใช้ฉีดสลายฟิลเลอร์นั้นคือ เอ็นไซม์ไฮยาลูโรนิเดส (Hyarulonidase :HYAL) ที่มีคุณสมบัติในการลดการอุ้มน้ำของฟิลเลอร์ และสลายพันธะการยึดเกี่ยวกับเซลล์ผิว ทำให้ฟิลเลอร์นั้นสลายไปในที่สุด

ข้อดี

เป็นวิธีที่ได้ผลดีและปลอดภัยที่สุด สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด

ข้อเสีย

ข้อเสีย: ใช้ได้เฉพาะกับฟิลเลอร์ HA เท่านั้น, อาจต้องฉีดซ้ำหลายครั้งในปัญหาขนาดใหญ่

2. ฉีดฟิลเลอร์ชนิดใหม่แก้ไขทับ

การฉีดฟิลเลอร์ชนิดใหม่แก้ไขทับ

เหมาะกับปัญหาฟิลเลอร์ที่เป็นก้อนเล็ก ๆ เท่านั้น วิธีนี้หลังจากการฉีดแก้ไขแล้ว อาจจะดูเรียบ ๆ แต่หลังจาก 2 – 3 เดือน ก็อาจจะมีปัญหาฟิลเลอร์เป็นก้อนได้อีกครั้งได้ค่ะ และ การฉีดฟิลเลอร์ทับลงไปในขณะที่ฟิลเลอร์เดิมนั้นยังไม่สลายหมดไปนั้น

ถ้าไม่ได้ทำการฉีดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อาจจะทำให้ฟิลเลอร์นั้นเป็นคลื่นได้ค่ะ

ข้อดี

                      สามารถปรับแก้ให้ดูดีขึ้นได้บ้าง

ข้อเสีย

ปัญหาอาจกลับมาเป็นซ้ำได้อีก,หรือผิวเป็นคลื่นได้ หากไม่ได้ทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

3. การผ่าตัดออก

การผ่าตัดหรือขูดฟิลเลอร์ออก

วิธีนี้จะใช้กับปัญหาฟิลเลอร์ที่เป็นก้อนขนาดใหญ่ มีความแข็งมาก และไม่สามารถฉีดสลายฟิลเลอร์ออกได้ โดยเบื้องต้นทางแพทย์จะใช้วิธีการขูดฟิลเลอร์ออก แต่ถ้ามีก้อนขนาดใหญ่และแข็งมาก ทางแพทย์อาจจะจำเป็นต้องทำการกรีดแผลและทำการตัดออก ทั้งนี้ การผ่าตัดออก แนะนำให้เป็นทางเลือกสุดท้าย เพราะเป็นวิธีที่รุนแรงและอันตรายที่สุด

ข้อดี

สามารถกำจัดฟิลเลอร์ได้หมด

ข้อเสีย

เป็นการผ่าตัด มีแผลแยก อาจมีรอยแผลเป็น และใช้ระยะพักฟื้นนานกว่า

4.การสลายฟิลเลอร์ด้วยความร้อน

สลายฟิลเลอร์ด้วยความร้อน

ความร้อนส่งผลโดยตรงกับอายุของฟิลเลอร์ คนที่ทำการฉีดฟิลเลอร์มานั้น จะต้องหลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่น งดเข้าอบไอน้ำ อบซาวน่า ทำเลเซอร์ เพราะความร้อนเฉพาะจุดเป็นเวลานานส่งผลต่อฟิลเลอร์ได้ใน 2 สัปดาห์แรก อาจเกิดฟิลเลอร์เคลื่อนที่ผิดตำแหน่งได้ในขณะที่ฟิลเลอร์ยังไม่เข้าที่

แต่การใช้ความร้อนเพื่อสลายฟิลเลอร์ในบริเวณที่ฉีดมาแล้วเกิดมีปัญหาหรือผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์นั้น ยังไม่มีคำยืนยันทางการแพทย์อย่างแน่ชัดว่าสามารถสลายได้หมด โดยปกติคุณหมอจะแนะนำให้ฉีดสลายฟิลเลอร์ด้วยสาร Hyaluronidase เพื่อทำการสลายค่ะ

ข้อดี

เป็นวิธีที่ไม่ต้องทำหัตถการเจาะจงเฉพาะที่

ข้อเสีย

 ไม่มีการการันตีผลลัพธ์ หรืออาจจะไม่สามารถสลายฟิลเลอร์ได้ทั้งหมด

ฉีดสลายฟิลเลอร์ vs ขูดฟิลเลอร์

ระหว่างการฉีดสลายฟิลเลอร์กับการขูดฟิลเลอร์ออก แม้จะมีเป้าหมายเดียวกัน แต่ก็มีความแตกต่างที่ควรพิจารณาหลายประการ เพื่อเลือกวิธีที่เหมาะสมกับตนเองที่สุด

ฉีดสลายฟิลเลอร์ กับ ขูดออก

กลไกการทำงาน

  • การฉีดสลายฟิลเลอร์ เป็นการฉีดเอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดสเข้าไปย่อยสลายฟิลเลอร์ชนิดไฮยาลูโรนิก แอซิด (HA) ในตำแหน่งที่ต้องการแก้ไข
  • การขูดฟิลเลอร์ เป็นการผ่าตัดเล็กเพื่อเปิดผิวหนังและใช้เครื่องมือขูดฟิลเลอร์ออกมา โดยสามารถขูดฟิลเลอร์ได้เกือบทุกชนิด มีความแม่นยำสูง แต่วิธีนี้เป็นวิธีสุดท้าย เพราะมีความเสี่ยงกว่าฉีดสลายฟิลเลอร์ 

ระยะเวลาที่เห็นผล

  • การฉีดสลายฟิลเลอร์ให้ผลเร็ว มักเห็นผลตั้งแต่ครั้งแรกและดีขึ้นเรื่อย ๆ ใน 24-48 ชม. แต่หากมีฟิลเลอร์มาก อาจต้องฉีดซ้ำ 2-3 ครั้ง
  • การขูดออกเห็นผลชัดเจนทันทีหลังทำ เพราะสามารถกำจัดฟิลเลอร์ได้ปริมาณมากในครั้งเดียว แต่ต้องใช้เวลาพักฟื้นนานกว่า 1-2 สัปดาห์

ความเจ็บปวดระหว่างทำ

  • การฉีดสลายฟิลเลอร์ด้วย Hyaluronidase เจ็บน้อยกว่า เพราะเป็นแค่การฉีดโดยไม่ต้องดมยาหรือผ่าตัด
  • การขูดฟิลเลอร์มีความเจ็บมากกว่าการฉีดสลายฟิลเลอร์ เนื่องจากต้องกรีดแผลผ่าตัดและใช้เครื่องมือขูดไปตามชั้นผิวหนัง บางกรณีต้องดมยาสลบซึ่งมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน  

ผลข้างเคียง

  • การฉีดสลายฟิลเลอร์ มีผลข้างเคียงน้อย เช่น รอยเข็มทั่วไปแต่มักไม่รุนแรงและสามารถหายเองได้ใน 1-2 สัปดาห์ แต่อาจเกิดการแพ้สารได้ ซึ่งพบน้อย
  • การขูดฟิลเลอร์มีความเสี่ยงต่อแผลแยก รอยแผลเป็น บวมช้ำนาน ติดเชื้อได้ง่าย และเลือดออก รวมถึงผลแทรกซ้อนจากยาระงับความรู้สึก 

ข้อจำกัด

  • การฉีดสลายฟิลเลอร์ สามารถใช้ได้เฉพาะกับฟิลเลอร์ไฮยาลูโรนิกแอซิด (HA) เท่านั้น และหากสลายมากไปอาจทำให้เนื้อเยื่อยุบตัวได้
  • การขูดฟิลเลอร์ไม่เหมาะทำซ้ำบ่อย ๆ เพราะจะเกิดแผลเป็นและพังผืดมากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงอาจไม่เหมาะกับผู้ป่วยสูงอายุหรือมีโรคประจำตัวบางอย่าง

ค่าใช้จ่าย

  • การฉีดสลายฟิลเลอร์จะมีค่าใช้จ่ายไม่สูงเท่าการผ่าตัด แต่ในบางกรณีอาจต้องทำการฉีดสลายหลายครั้ง
  • การขูดมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าฉีดสลายฟิลเลอร์มาก เนื่องจากต้องใช้ห้องผ่าตัด ทีมแพทย์หลายคน ยาระงับความรู้สึก และการพักฟื้นในโรงพยาบาล

ฉีดสลายฟิลเลอร์

กลไกการทำงาน

  • การฉีดสลายฟิลเลอร์ เป็นการฉีดเอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดสเข้าไปย่อยสลายฟิลเลอร์ชนิดไฮยาลูโรนิก แอซิด (HA) ในตำแหน่งที่ต้องการแก้ไข

ระยะเวลาที่เห็นผล

  • การฉีดสลายฟิลเลอร์ให้ผลเร็ว มักเห็นผลตั้งแต่ครั้งแรกและดีขึ้นเรื่อย ๆ ใน 24-48 ชม. แต่หากมีฟิลเลอร์มาก อาจต้องฉีดซ้ำ 2-3 ครั้ง

ความเจ็บปวดระหว่างทำ

  • การฉีดสลายฟิลเลอร์ด้วย Hyaluronidase เจ็บน้อยกว่า เพราะเป็นแค่การฉีดโดยไม่ต้องดมยาหรือผ่าตัด

ผลข้างเคียง

  • การฉีดสลายฟิลเลอร์ มีผลข้างเคียงน้อย เช่น รอยเข็มทั่วไปแต่มักไม่รุนแรงและสามารถหายเองได้ใน 1-2 สัปดาห์ แต่อาจเกิดการแพ้สารได้ ซึ่งพบน้อย

ข้อจำกัด

  • การฉีดสลายฟิลเลอร์ สามารถใช้ได้เฉพาะกับฟิลเลอร์ไฮยาลูโรนิกแอซิด (HA) เท่านั้น และหากสลายมากไปอาจทำให้เนื้อเยื่อยุบตัวได้

ค่าใช้จ่าย

  • การฉีดสลายฟิลเลอร์จะมีค่าใช้จ่ายไม่สูงเท่าการผ่าตัด แต่ในบางกรณีอาจต้องทำการฉีดสลายหลายครั้ง

ขูดฟิลเลอร์

กลไกการทำงาน

  • การขูดฟิลเลอร์ เป็นการผ่าตัดเล็กเพื่อเปิดผิวหนังและใช้เครื่องมือขูดฟิลเลอร์ออกมา โดยสามารถขูดฟิลเลอร์ได้เกือบทุกชนิด มีความแม่นยำสูง แต่วิธีนี้เป็นวิธีสุดท้าย เพราะมีความเสี่ยงกว่าฉีดสลายฟิลเลอร์ 

ระยะเวลาที่เห็นผล

  • การขูดออกเห็นผลชัดเจนทันทีหลังทำ เพราะสามารถกำจัดฟิลเลอร์ได้ปริมาณมากในครั้งเดียว แต่ต้องใช้เวลาพักฟื้นนานกว่า 1-2 สัปดาห์

ความเจ็บปวดระหว่างทำ

  • การขูดฟิลเลอร์มีความเจ็บมากกว่าการฉีดสลายฟิลเลอร์ เนื่องจากต้องกรีดแผลผ่าตัดและใช้เครื่องมือขูดไปตามชั้นผิวหนัง บางกรณีต้องดมยาสลบซึ่งมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน

ผลข้างเคียง

  • การขูดฟิลเลอร์มีความเสี่ยงต่อแผลแยก รอยแผลเป็น บวมช้ำนาน ติดเชื้อได้ง่าย และเลือดออก รวมถึงผลแทรกซ้อนจากยาระงับความรู้สึก

ข้อจำกัด

  • การขูดฟิลเลอร์ไม่เหมาะทำซ้ำบ่อย ๆ เพราะจะเกิดแผลเป็นและพังผืดมากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงอาจไม่เหมาะกับผู้ป่วยสูงอายุหรือมีโรคประจำตัวบางอย่าง

ค่าใช้จ่าย

  • การขูดมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าฉีดสลายฟิลเลอร์มาก เนื่องจากต้องใช้ห้องผ่าตัด ทีมแพทย์หลายคน ยาระงับความรู้สึก และการพักฟื้นในโรงพยาบาล

คำถามที่พบบ่อย ฉีดสลายฟิลเลอร์

  • ฉีดสลายฟิลเลอร์ ราคาเท่าไร?

ราคาการฉีดสลายฟิลเลอร์จะแตกต่างกันตามปัจจัยหลายอย่าง เช่น ชนิดของฟิลเลอร์ที่ต้องการสลาย ปริมาณฟิลเลอร์ สถานพยาบาล และแพทย์ผู้ฉีด โดยทั่วไปราคาฉีดสลายฟิลเลอร์เริ่มต้นที่ประมาณ 3,500 บาท ไปจนถึงหลักหมื่นบาท ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินค่าใช้จ่ายที่แน่นอนก่อนฉีดค่ะ

  • ฉีดสลายฟิลเลอร์แล้วกลับไปฉีดใหม่ได้ไหม?

เพราะการฉีดสลายฟิลเลอร์จะไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบชั่วคราวของผิวหนัง จึงไม่ควรรีบฉีดใหม่ทันที เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ผิวไม่เรียบ มีก้อน หรือติดเชื้อได้ง่าย โดยทั่วไปควรรอให้ผิวกลับสู่สภาพปกติอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์หลังฉีดสลายฟิลเลอร์ หรือจนกว่าอาการบวมแดงจะหายไปก่อน จึงจะสามารถฉีดฟิลเลอร์ซ้ำได้อย่างปลอดภัย

การฉีดสลายฟิลเลอร์อย่างถูกวิธีโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะไม่ทำให้ใบหน้าดูเหี่ยวหรือหย่อนคล้อย เพราะเอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดสมีความจำเพาะสูง สามารถทำปฏิกิริยากับโมเลกุลของฟิลเลอร์ HA โดยไม่ทำลายเนื้อเยื่อและผิวหนังแต่อย่างใด

ซึ่งหลังฉีดสลายฟิลเลอร์ ผิวหน้าจะค่อย ๆ กลับสู่สภาพก่อนฉีดฟิลเลอร์ตามธรรมชาติ โดยไม่ทำให้เกิดริ้วรอยเพิ่มเติม

ทั้งนี้ การคำนวณปริมาณเอนไซม์ที่เหมาะสม และฉีดสลายฟิลเลอร์เฉพาะจุดที่เป็นปัญหา จะช่วยย่อยสลายฟิลเลอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่กระทบกับเนื้อเยื่อปกติ ทำให้ใบหน้ากลับสู่ความสมดุลตามธรรมชาติได้ โดยไม่แลดูเหี่ยวแห้งแต่อย่างใดค่ะ

  • หากฉีดสลายฟิลเลอร์ไม่ได้ผล ต้องทำยังไง?

กรณีที่ฉีดสลายฟิลเลอร์แล้วไม่ได้ผล ในบางกรณีการฉีดสลายอาจไม่ได้ผลในครั้งแรก เนื่องจากฟิลเลอร์อยู่ในชั้นผิวที่ลึก ปริมาณเอนไซม์ยังไม่เพียงพอ หรือเป็นฟิลเลอร์ชนิดที่สลายยาก หากไม่มีการตอบสนองหลังจาก 4-6 สัปดาห์หลังฉีดสลาย แพทย์อาจแนะนำให้ฉีดซ้ำโดยเพิ่มความเข้มข้นของเอนไซม์ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นรายกรณีไป

  • ใช้การประคบร้อน เพื่อสลายฟิลเลอร์ได้หรือไม่

เนื่องจากความร้อนมีผลต่อการสลายตัวของฟิลเลอร์ ทำให้ฟิลเลอร์สลายเร็วกว่าอายุการใช้งานปกติ อย่างไรก็ตาม การใช้ความร้อนหรือการประคบร้อนเพื่อสลายฟิลเลอร์หรือแก้ไขปัญหาหลังฉีดนั้น ยังไม่มีข้อยืนยันทางการแพทย์ที่ชัดเจนว่าสามารถใช้แก้ปัญหาในระยะเวลาไม่เกิน 2 สัปดาห์หลังฉีดได้

หากเกิดปัญหาหลังฉีดฟิลเลอร์ในช่วงไม่เกิน 2 สัปดาห์ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีแก้ไขเบื้องต้นก่อน แต่หากเลยระยะเวลา 2 สัปดาห์ไปแล้ว สามารถพิจารณาฉีดสลายฟิลเลอร์ด้วยสารไฮยาลูโรนิเดสได้

อย่างไรก็ตาม ควรระวังว่าการให้ความร้อนสูงหรือกดทับผิวหนังบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์แรงเกินไป ไม่เพียงแต่จะไม่ช่วยสลายฟิลเลอร์เท่านั้น แต่ยังอาจส่งผลเสียทำให้ฟิลเลอเสียรูปทรง และกระจายไปยังบริเวณอื่น ๆ ที่ไม่ต้องการได้อีกด้วย

  • ต้องฉีดสลายฟิลเลอร์กี่ครั้งถึงจะเห็นผล?

สำหรับการฉีดสลายฟิลเลอร์ ในกรณีทั่วไปที่ปริมาณฟิลเลอร์ไม่มากนัก มักจะเห็นผลหลังการฉีดเพียง 1-2 ครั้งเท่านั้น โดยจะสังเกตได้ว่าก้อนฟิลเลอร์ยุบตัวลง ความผิดปกติของรูปหน้าลดลง และกลับเข้าสู่สัดส่วนที่ดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น

บางกรณีที่มีฟิลเลอร์ปริมาณมาก หรือเป็นชนิดที่สลายตัวยาก แพทย์อาจแนะนำให้ฉีดสลายฟิลเลอร์ซ้ำ 3-4 ครั้ง โดยมีระยะห่างประมาณ 2-4 สัปดาห์ต่อครั้ง เพื่อให้สารสลายออกฤทธิ์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จนสามารถกำจัดฟิลเลอร์ที่ไม่พึงประสงค์ออกไปได้หมด

หากหลังการฉีดสลายฟิลเลอร์ครบ 4 ครั้งแล้ว ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงของก้อนฟิลเลอร์ หรือยังมีความผิดปกติของใบหน้าอยู่มาก แพทย์จะทำการประเมินซ้ำและพิจารณาปรับแผนการรักษาใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เช่น การเพิ่มความเข้มข้นของสารสลาย การเปลี่ยนวิธีไปใช้การผ่าตัดแทน หรือการใช้เทคนิคพิเศษอื่น ๆ เพื่อให้การกำจัดฟิลเลอร์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และได้ผลลัพธ์ที่พึงพอใจที่สุดค่ะ

  • ฉีดสลายฟิลเลอร์ ฉีดซ้ำได้ไหม?

การฉีดสลายฟิลเลอร์สามารถฉีดซ้ำได้ค่ะ โดยแพทย์จะต้องประเมินก่อนว่าหลังฉีดสลายฟิลเลอร์ไปในรอบแรก มีการยุบลงมากน้อยเพียงใด ฟิลเลอร์ยังเหลือหรือไม่ เพราะแพทย์ต้องฉีดยาสลายในปริมาณที่ไม่มากเกินไป

ฉีดสลายฟิลเลอร์ที่ไหนดี

ฉีดสลายฟิลเลอร์ที่ไหนดี

ในการเลือกสถานที่ฉีดสลายฟิลเลอร์ ควรพิจารณาปัจจัยต่อไปนี้เพื่อให้ได้รับบริการที่ดีและปลอดภัยที่สุด

  • เลือกคลินิกหรือสถานพยาบาลที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน มีใบอนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย
  • มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านฟิลเลอร์เป็นผู้ทำการรักษาโดยตรง
  • มีประสบการณ์ในการฉีดสลายฟิลเลอร์มาอย่างยาวนาน และมีผลงานที่พิสูจน์ได้
  • ใช้เอนไซม์สลายฟิลเลอร์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนถูกต้องจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
  • มีเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย ได้มาตรฐาน พร้อมทีมงานที่เชี่ยวชาญ
  • มีการซักประวัติ ตรวจผิวหนัง และให้คำปรึกษาโดยละเอียดก่อนฉีดสลายฟิลเลอร์
  • มีราคาค่าบริการที่เหมาะสม ไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป สอดคล้องกับคุณภาพและความปลอดภัย
  • มีบริการหลังการรักษา พร้อมดูแลและรับผิดชอบหากเกิดปัญหาแทรกซ้อน
  • มีความน่าเชื่อถือ ได้รับการยอมรับ และมีรีวิวผู้ฉีดสลายฟิลเลอร์หรือข้อมูลเชิงบวกจากผู้ใช้บริการจริง

การฉีดสลายฟิลเลอร์ เป็นหัตถการที่ต้องใช้ความชำนาญเฉพาะทาง การเลือกสถานที่ที่ดีและเหมาะสมจะช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อน และทำให้ผลลัพธ์เป็นไปตามความคาดหวัง เพื่อความสวยงามที่ปลอดภัยในระยะยาวนั่นเองค่ะ

รีวิวฉีดสลายฟิลเลอร์

โปรแกรมสลายฟิลเลอร์ รีวิว ใต้ตา
โปรแกรมสลายฟิลเลอร์ รีวิว หน้าผาก
โปรแกรมสลายฟิลเลอร์ รีวิว คาง
โปรแกรมสลายฟิลเลอร์ รีวิว บริเวณคาง
โปรแกรมสลายฟิลเลอร์ รีวิว ปาก
โปรแกรมสลายฟิลเลอร์ รีวิว บริเวณใต้ตา
โปรแกรมสลายฟิลเลอร์ รีวิว ใต้ตา หน้าแก้ม
สลายฟิลเลอร์ รีวิว ใต้ตา

บทสรุป

สรุปแล้ว การฉีดสลายฟิลเลอร์ ด้วยเอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดส เป็นวิธีแก้ปัญหาฟิลเลอร์ที่ปลอดภัยและได้ผล โดยเอนไซม์จะย่อยสลายโมเลกุลของฟิลเลอร์ ช่วยกำจัดส่วนเกินและแก้ไขให้กลับสู่รูปร่างที่ต้องการ ปัญหาฟิลเลอร์อาจเกิดจากเทคนิคการฉีด การเลือกใช้ชนิด การวางแผนปริมาณและตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม รวมถึงการดูแลตัวเองที่ไม่ถูกวิธี

ก่อนฉีดสลายฟิลเลอร์ ต้องปรึกษาแพทย์ถึงข้อมูลสุขภาพและประวัติฉีดฟิลเลอร์ เพื่อวางแผนการรักษา โดยมากผลข้างเคียงไม่รุนแรงและหายเองใน 1-2 วัน ส่วนการดูแลหลังฉีด แนะนำให้พักผ่อนเพียงพอ หลีกเลี่ยงความร้อนหรือแรงกดทับ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

โดยจะเริ่มเห็นผลลัพธ์สลายฟิลเลอร์ใน 24-48 ชม. และผลลัพธ์ชัดเจนที่สุดใน 1-2 สัปดาห์ อาจต้องฉีดซ้ำ 2-3 ครั้งสำหรับปัญหาที่ค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับการผ่าตัด การฉีดสลายฟิลเลอร์ให้ผลเร็วกว่า เจ็บน้อยกว่า เสี่ยงน้อยกว่า และค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก

อย่างไรก็ตาม การฉีดสลายฟิลเลอร์เป็นหัตถการที่มีความเสี่ยงและข้อจำกัดในบางกรณี จึงไม่สามารถใช้แก้ปัญหาจากฟิลเลอร์ได้ทุกเคส ผู้ที่สนใจควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นรายบุคคล เพื่อประเมินความเหมาะสมและทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับตนเอง

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ทั่วไปเท่านั้น ไม่สามารถใช้แทนการตรวจวินิจฉัยหรือการรักษาจากแพทย์ได้ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง

CONTACT FOR SPECIAL PRIVILEGES

กดด้านล่างติดเราเพื่อสอบถามรายละเอียดเเละสิทธิ์อื่นๆ

โทร RWC
line rwc
Facebook rwc
โทร RWC
Facebook rwc
line rwc

ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง RWC Clinic

ทีมแพทย์ RWC