ฟิลเลอร์อันตรายไหม? คำถามยอดฮิตก่อนตัดสินใจฉีด ซึ่งมีทั้งข้อดีในการลดริ้วรอยและเติมเต็มร่องลึก แต่ก็มีความเสี่ยงต่อผลข้างเคียง เช่น บวม แดง ช้ำ ติดเชื้อ หรือเกิดก้อนใต้ผิวหนัง แม้เทคนิคการฉีดจะทันสมัยขึ้น แต่ภาวะแทรกซ้อนก็ยังเกิดได้เสมอ ขึ้นกับฝีมือแพทย์ คุณภาพวัสดุ และการดูแลตัวเองหลังฉีด
การฉีดฟิลเลอร์ควรทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ไม่ใช่ “หมอทั่วไป” เพราะอาจได้รับความเสี่ยงที่ร้ายแรงกว่า เช่น การอุดตันของหลอดเลือด หรือความเสี่ยงต่อการสูญเสียการมองเห็น
ฉีดฟิลเลอร์อีกเรื่องที่ควรรู้คือ ฟิลเลอร์อันตรายไหม? แม้ฟิลเลอร์จะได้รับการรับรองและใช้อย่างถูกต้องมีความปลอดภัยสูง แต่ก็มีความเสี่ยงที่ต้องตระหนัก ฟิลเลอร์ส่วนใหญ่ผลิตจากไฮยาลูรอนิค แอซิด ซึ่งเป็นสารที่มีอยู่ตามธรรมชาติในร่างกาย โดยในประเทศไทย อย. รับรองเฉพาะฟิลเลอร์ชนิดไฮยาลูรอนิค แอซิดเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม การเติบโตของอุตสาหกรรมความงามทำให้เกิดโปรโมชั่นราคาถูกที่อาจโฆษณาเกินจริง ผู้บริโภคควรระวังผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ผ่านการรับรอง อย. รวมถึงการใช้บริการจากคลินิกเถื่อน ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรงได้
ดังนั้น ผู้ที่สนใจฉีดฟิลเลอร์ควรศึกษาข้อมูลให้รอบด้าน เลือกใช้บริการจากสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐาน และปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อความปลอดภัยสูงสุด
ฟิลเลอร์ คือ สารเติมเต็มเพื่อเพิ่มปริมาตรหรือปรับรูปทรงของผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง แก้ไขข้อบกพร่องบริเวณใบหน้า แก้ไขเรื่องริ้วรอย ทำหน้าที่ขยายและทำให้บริเวณที่ถูกฉีดดูเต็มขึ้น สิ่งสำคัญคือ จะต้องเป็นแพทย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน รู้เทคนิคการฉีดที่ถูกต้องเหมาะสม มีความเชี่ยวชาญด้านกายวิภาค และ เส้นเลือดบนใบหน้า เพื่อให้การฉีดฟิลเลอร์นั้นออกมาสวยและปลอดภัยที่สุด
สำหรับอันตรายจากการฉีดฟิลเลอร์ ส่วนใหญ่มาจากแพทย์ที่ไม่เชี่ยวชาญและขาดความรู้ในด้านกายวิภาค ถ้าฉีดไม่ดีอาจทำให้เกิดอันตราย และมีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เช่น การอุดตันของหลอดเลือด หรือการเกิดก้อนใต้ผิวหนัง
กลุ่ม Hyaluronic Acid หรือ HA กรดไฮยาลูรอนิก สามารถสลายตัวได้เองตามธรรมชาติ มีความปลอดภัยสูง สามารถจับตัวกับน้ำ มีคุณสมบัติส่งผลให้ผิวหนังเต่งตึง ผลลัพธ์อยู่ได้ 6– 18 เดือน เป็นฟิลเลอร์ชนิดเดียวที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของไทยรับรองให้ใช้ได้อย่างปลอดภัย
2. Semi-Permanent Filler (แบบกึ่งถาวร)
ฟิลเลอร์ชนิดนี้เป็นแบบกึ่งถาวร ตัวอย่าง เช่น แคลเซียมฟิลเลอร์ ผลลัพธ์อยู่ได้ประมาณ 5 ปี (แล้วแต่บุคคล) ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในไทย เพราะผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง เป็นฟิลเลอร์ชนิดที่ไม่สามารถสลายได้หมด เมื่อเวลาผ่านไปอาจทำให้เป็นก้อน ทำการรักษาได้ยาก
3. Permanent Filler (แบบถาวร)
เป็นชนิดแบบถาวร ตัวอย่าง เช่น ซิลิโคน พาราฟิน แพทย๋ไม่แนะนำให้ใช้ประเภทนี้ เพราะเป็นชนิดที่อยู่ถาวร หากฉีดไปแล้วผิวไม่สามารถดูดซึมได้ จะส่งผลให้สารเหล่านี้ตกค้างอยู่ในชั้นผิว ไม่สามารถย่อยสลายได้ ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในไทย
4. การฉีด Collagen จากสัตว์
คอลลาเจนจากสัตว์เคยเป็นที่นิยมเพราะมีโครงสร้างใกล้เคียงกับมนุษย์ แต่ปัจจุบันไม่แนะนำแล้ว เพราะมีรายงานการแพ้และการต่อต้านจากร่างกาย ทางการแพทย์จึงไม่แนะนำให้ใช้ฟิลเลอร์คอลลาเจนจากสัตว์หรือฟิลเลอร์ปลอม เพราะมักก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่อันตราย และไม่สามารถฉีดสลายออกได้
ความเสี่ยงและผลข้างเคียงของการฉีดคอลลาเจนจากสัตว์
ผลข้างเคียงทั่วไป
- อาการบวม : มักเกิดขึ้นบริเวณที่ฉีด และหายไปเองภายใน 1-2 วัน
- รอยช้ำ : อาจเกิดขึ้นและหายไปภายใน 1-2 สัปดาห์
- อาการแดง : บริเวณที่ฉีดอาจมีอาการแดงเล็กน้อยหลังฉีด
- มีก้อนเล็ก ๆ ใต้ผิวหนัง : มักหายไปเองภายในไม่กี่สัปดาห์
- ผลลัพธ์ไม่สม่ำเสมอ : อาจเกิดความไม่เท่ากันของผลลัพธ์ในบางบริเวณ
ผลข้างเคียงร้ายแรง
- การแพ้อย่างรุนแรง : อาจเกิดปฏิกิริยาแพ้รุนแรงจากโปรตีนสัตว์ในคอลลาเจน
- การติดเชื้อ : มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อบริเวณที่ฉีด
- เนื้อเยื่อตาย : ในกรณีที่รุนแรงมาก อาจทำให้เกิดการตายของเนื้อเยื่อ
- การเกิดก้อนแข็งเรื้อรัง : อาจเกิดก้อนแข็งใต้ผิวหนังที่ไม่หายไป
- ปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันต่อต้านตัวเอง : อาจกระตุ้นให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- การอุดตันของหลอดเลือด : ในกรณีที่รุนแรงมาก อาจทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือด
- ผลกระทบต่อระบบประสาท : ในกรณีที่ฉีดผิดตำแหน่ง อาจส่งผลต่อระบบประสาทบริเวณใกล้เคียง
ภาพตัวอย่างฟิลเลอร์กลุ่ม Hyaluronic Acid จากโรงงานผลิตฟิลเลอร์ เเบรนด์ Restylane ที่สามารถฉีดสลายได้
ข้อดีของการฉีดฟิลเลอร์
- ไม่ต้องผ่าตัด เป็นวิธีที่ลดความเสี่ยงและระยะเวลาฟื้นตัว
- เห็นผลลัพธ์เร็ว สามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงได้ทันทีหลังฉีด
- ปรับแต่งได้ สามารถเพิ่มหรือลดปริมาณฟิลเลอร์ได้ตามต้องการ
- ผลลัพธ์ดูเป็นธรรมชาติ ให้ความรู้สึกและการเคลื่อนไหวที่เป็นธรรมชาติ
- ไม่ถาวร เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการทดลองก่อนตัดสินใจทำแบบถาวร
- ฟื้นตัวเร็ว สามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติได้เร็วกว่าการผ่าตัด
- ความเสี่ยงต่ำ มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าการผ่าตัด
- มีความคุ้มค่า สามารถใช้กับหลายบริเวณของใบหน้าได้ โดยขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล และควรเปรียบเทียบกับทางเลือกอื่น ๆ
- ไม่ต้องดมยาสลบ ลดความเสี่ยงจากการดมยาสลบ
- ประสิทธิภาพสูง สามารถแก้ไขปัญหาริ้วรอย หรือเพิ่มปริมาตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งประสิทธิภาพอาจต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุ สภาพผิว และวิธีการดูแลหลังฉีด
ข้อเสียของการฉีดฟิลเลอร์
- ผลลัพธ์ไม่ถาวร ต้องทำซ้ำเป็นระยะเพื่อรักษาผลลัพธ์
- ค่าใช้จ่ายในระยะยาว การทำซ้ำอาจมีค่าใช้จ่ายสูงเมื่อรวมกันในระยะยาว
- ความเสี่ยงจากการฉีดผิดตำแหน่ง อาจเกิดความไม่สมมาตรหรือผลข้างเคียงอื่นๆ
- อาการข้างเคียง อาจเกิดอาการบวม ช้ำ หรือในกรณีที่รุนแรง อาจเกิดการอุดตันของหลอดเลือด
- ข้อจำกัดในการแก้ไขปัญหา อาจไม่สามารถแก้ไขปัญหาโครงสร้างที่ซับซ้อนได้
- ความเสี่ยงจากการแพ้ แม้จะพบได้น้อย แต่อาจเกิดการแพ้สารฟิลเลอร์ได้
- ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับทักษะของแพทย์ คุณภาพของผลลัพธ์อาจแตกต่างกันตามประสบการณ์ของแพทย์
- อาจเกิดการพึ่งพาทางจิตใจ บางคนอาจรู้สึกต้องทำซ้ำบ่อยๆ เพื่อรักษาผลลัพธ์
อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจฉีดฟิลเลอร์ควรผ่านการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อประเมินความเหมาะสมและความปลอดภัย และควรพิจารณาจากคุณภาพ และความน่าเชื่อถือของคลินิก และแพทย์ที่ทำการรักษาด้วย เพื่อผลลัพธ์ที่ดีและมีประสิทธิภาพ
- อาจมีอาการบวมนูน ผิวหนังแดง หรือมีรอยช้ำสีม่วงแดงจากเข็ม และมักหายภายใน 1-2 สัปดาห์ โดยอาการบวมจะลดลงเร็วที่สุด หากอาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลงหลัง 2 สัปดาห์ ให้รีบปรึกษาแพทย์
- อาการเจ็บหรือคันเล็กน้อย เกิดจากการระคายเคืองของเนื้อเยื่อและการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน มักหายภายใน 3-7 วัน อาจใช้ยาแก้ปวดหรือยาทาแก้คันตามคำแนะนำของแพทย์
- รอยนูนหรือก้อนเล็กใต้ผิวหนัง อาจเกิดจากการกระจายตัวของฟิลเลอร์ที่ไม่สม่ำเสมอ หรือปฏิกิริยาของร่างกาย มักหายเองภายใน 1-2 เดือน หากไม่หาย แพทย์อาจใช้เทคนิคการนวดหรือฉีดสารละลายฟิลเลอร์ หากก้อนมีขนาดใหญ่ขึ้น แข็ง หรือเจ็บ ควรปรึกษาแพทย์ทันทีเพราะอาจเกิดการติดเชื้อ – ปัญหาฟิลเลอร์เป็นก้อน สาเหตุ อาการ และวิธีแก้ไข
ทั้งนี้ ผลข้างเคียงทั่วไปเหล่านี้มักเกิดขึ้นกับฟิลเลอร์ที่ได้รับการรับรองจาก อย. เท่านั้น ผลข้างเคียงเหล่านี้ถือว่าเป็นเรื่องปกติและมักไม่รุนแรง ผลข้างเคียงบางอย่างอาจเกิดขึ้นได้ถึงจะฉีดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แต่โอกาสเกิดจะน้อยกว่า
อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดในการดูแลหลังฉีดฟิลเลอร์ จะช่วยลดโอกาสการเกิดผลข้างเคียงและทำให้หายเร็วขึ้น หากมีอาการผิดปกติหรือรุนแรงกว่าที่กล่าวมา ควรปรึกษาแพทย์ให้เร็วที่สุด เพื่อรับการตรวจและรักษาอย่างเหมาะสม
ผลข้างเคียงรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น
- การอุดตันของหลอดเลือด การฉีดฟิลเลอร์แล้วอุดตันในเส้นเลือดและเส้นประสาทบนบนใบหน้า ที่ทำให้เกิดอาการเนื้อตาย จากการที่เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงบริเวณนั้นได้ ทำให้ฟิลเลอร์เข้าไปในเส้นเลือดแดง และอุดตันเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณดวงตา ส่งผลให้จอประสาทตาตาย ( Retinal Artery Occlusion ) ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดหัวหรือกระบอกตาร่วมด้วยทันทีหลังฉีด ทำให้เกิดอาการตาพร่ามัวและตาบอด retinal artery occlusion ได้ เป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาทันที
- ติดเชื้อ ลักษณะจะบวม ช้ำ หรือเป็นหนอง ผลข้างเคียงเหล่านี้ในทางการแพทย์จะให้ ทานยาปฏิชีวนะ และยาลดบวม โอกาสในการติดเชื้อก็จะลดน้อยลงพอสมควร แต่ในกรณีที่ดื้อยา จะมีการทานยาปฏิชีวนะเพิ่มมากกว่า 1 ตัว
- แพ้สารฟิลเลอร์ เพราะร่างกายตอบสนองต่อสารฟิลเลอร์เป็นสิ่งแปลกปลอม ทำให้มีอาการ บวม แดง คัน อาจเกิดผื่นหรือลมพิษ จนเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงอาจเกิดภาวะช็อกจากการแพ้ (anaphylaxis) ทำให้การรักษา จะต้องใช้ยาแก้แพ้ ในกรณีรุนแรงอาจต้องฉีดอะดรีนาลีน – อาการแพ้ฟิลเลอร์ คืออะไร
- การฉีดผิดตำแหน่ง เกิดจากแพทย์ขาดความชำนาญหรือความเข้าใจในกายวิภาคศาสตร์ จนเกิดผลกระทบทำให้เกิดความไม่สมมาตรของใบหน้า การวางตัวยาอาจกดทับเส้นประสาทหรือหลอดเลือด ซึ่งการแก้ไขอาจต้องฉีดสารละลายฟิลเลอร์ออก หรือในบางกรณีต้องรอให้ฟิลเลอร์สลายไปเองจนหมด
เพื่อป้องกันการเกิดผลข้างเคียงเหล่านี้ ควรเลือกคลินิกที่น่าเชื่อถือ ปลอดภัย และเลือกแพทย์ที่เป็นแพทย์ความงามจริง ไม่เช่นนั้นอาจเกิดอันตรายตามมาได้ การฉีดฟิลเลอร์มีความปลอดภัยเมื่อทำอย่างถูกต้อง แต่ก็มีความเสี่ยงที่ควรตระหนัก ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินความเหมาะสมและความเสี่ยงสำหรับแต่ละบุคคล
อ่านเพิ่มเติม : ฟิลเลอร์เน่า อันตรายไหม ? แก้ไขได้อย่างไร ?
ต้องรู้จักฟิลเลอร์แท้ หรือ ฟิลเลอร์ปลอม ฟิลเลอร์ที่ใช้ในการฉีดเพื่อทำการรักษา จะต้องเป็นฟิลเลอร์แท้ เท่านั้น ฟิลเลอร์จะต้องได้มาตรฐาน ได้รับรองจากองค์การอาหารและยา ซึ่งในประเทศไทย ฟิลเลอร์ที่ได้รับการรับรองจาก อย. มีเพียงชนิดเดียว คือ ไฮยาลูรอนิก แอซิด โดยสามารถตรวจสอบรายละเอียดได้จาก การตรวจสอบเลขทะเบียน อย. วันหมดอายุ และเลข LOT ของวันผลิตอยู่หน้ากล่อง
ในปัจจุบันฟิลเลอร์มีหลายยี่ห้อ และหลายรุ่น มีจุดเด่นและคุณสมบัติที่ต่างกันออกไป มีทั้งเนื้อแบบแข็งและเนื้ออ่อน แต่ละแบบเหมาะกับแต่ละจุดที่ต้องการฉีดที่แตกต่างกันออกไป จึงจำเป็นต้องเลือกเนื้อฟิลเลอร์ให้เหมาะกับผิวบริเวณที่ฉีด การเลือกฟิลเลอร์ที่เหมาะสมควรเป็นหน้าที่ของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่คอยแนะนำให้ ไม่ใช่ผู้รับบริการ
2. ฉีดกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
ก่อนตัดสินใจฉีดโปรแกรมฟิลเลอร์ จะต้องมั่นใจได้ว่าเป็นแพทย์จริง สามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ของแพทย์สภา โดยแพทย์ที่ทำการรักษาจะต้องเป็นแพทย์ที่มีความชำนาญและเชี่ยวชาญด้านกายวิภาค และ เส้นเลือดบนใบหน้าเป็นอย่างดี แพทย์ที่ฉีดควรเป็นผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมเฉพาะทางด้านการฉีดฟิลเลอร์ ไม่ใช่แพทย์ทั่วไป หากพลาดพลั้งฉีดโดนเส้นเลือด หรือ วางตำแหน่งยาผิดชั้นผิวไปแล้วนั้น อาจทำให้เกิดปัญหาอื่นตามมาได้ หรือสามารถดูได้ที่ผลงานของแพทย์ท่านนั้น ๆ โดยตรง เพื่อประกอบการตัดสินใจที่แม่นยำมากขึ้น
สำคัญ โปรดระวังหมอกระเป๋า เพราะหมอกระเป๋า คือ ผู้ช่วยแพทย์ที่เห็นการทำหัตถการจากแพทย์ อาจจะจดจำเทคนิคต่าง ๆ แล้วนำไปลองฉีดแบบเถื่อน ไม่ได้มีประสบการณ์จริง ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายและอันตรายนั่นเองค่ะ
3. ฉีดในสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐาน
สำหรับคลินิกหรือสถานพยาบาลที่ใช้บริการต้องได้มาตรฐาน สะอาด และมีอุปกรณ์ที่ปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ควรมีอุปกรณ์ฉุกเฉินพร้อมใช้งานสำหรับกรณีเกิดผลข้างเคียงรุนแรง และสถานพยาบาลต้องมีใบอนุญาตถูกต้อง แสดงป้ายชื่อและเลขที่ใบอนุญาต 11 หลักชัดเจน มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญประจำการ ไม่ควรรับบริการในสถานที่ที่ไม่ใช่สถานพยาบาล เช่น บ้านหรือร้านเสริมสวย เพราะผิดกฎหมายและขาดมาตรฐานความปลอดภัย
ดังนั้น ก่อนการตัดสินใจเข้ารับการรักษา ควรตรวจสอบความน่าเชื่อถือของสถานพยาบาลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย รวมถึงประวัติการร้องเรียน และรีวิวจากผู้ใช้บริการจริง แต่พึงระวังรีวิวปลอมหรือภาพตกแต่ง การพิจารณาอย่างรอบคอบจะช่วยเพิ่มความมั่นใจในการเลือกใช้บริการค่ะ
- มีเลขทะเบียน อย. และมีภาษาไทยกำกับ ฟิลเลอร์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจาก อย. มีเพียงไฮยาลูรอนิก แอซิด ซึ่งนำเข้าจากต่างประเทศและเป็นสารที่ใช้ในทางการแพทย์โดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น การตรวจสอบฟิลเลอร์แท้เป็นหน้าที่ของแพทย์และสถานพยาบาล ไม่ใช่ผู้รับบริการ แต่ผู้รับบริการควรมีความรู้และสามารถเปรียบเทียบข้อมูลเบื้องต้นเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการเลือกได้
- มีเลข LOT บนหน้ากล่องเข็มด้านใน สามารถดูเลขที่หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิต หรือ Lot No. ที่กล่องของฟิลเลอร์ แล้วนำโทรไปตรวจสอบได้ แต่ละยี่ห้อของฟิลเลอร์อาจมีวิธีการตรวจสอบความแท้ที่แตกต่างกัน เช่น บางยี่ห้อมี QR code ให้สแกนเพื่อตรวจสอบ
- มีการบรรจุเข็มภายในกล่องในจำนวนที่ถูกต้อง ภายในกล่องฟิลเลอร์ของแท้ 1 กล่องนั้นจะประกอบด้วยเข็มจำนวน 2 อัน พร้อมระบุวันหมดอายุอย่างชัดเจน
- ต้องมีเอกสารกำกับ เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญของฟิลเลอร์ที่มีประโยชน์และให้ความปลอดภัยแก่ผู้รับบริการ จะมีฉลากหรือเอกสารกำกับทุกกล่อง มีบาร์โค้ดชัดเจนที่ด้านข้างตัวกล่อง ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้รับบริการสามารถติดตาม ตรวจสอบย้อนกลับ และข้อดูกล่องฟิลเลอร์ก่อนการฉีดได้ เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดตามกฎหมาย
- เลข LOT บนกล่องและด้านในต้องตรงกันฟิลเลอร์ของแท้ เลข LOT บนกล่องและซองด้านใน จะต้องปรากฏเป็นตัวเลขชุดเดียวกันทั้งสองที่ ฟิลเลอร์แท้จะต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสม และมีวิธีการขนส่งที่ถูกต้อง
ข้อควรปฏิบัติก่อนและหลังฉีดฟิลเลอร์มีความสำคัญมากต่อผลลัพธ์และความปลอดภัย ดังนี้
ก่อนฉีดฟิลเลอร์
- ควรงดอาหารเสริมหรือยาบางชนิด เช่น ยาแอสไพริน และวิตามินอี ก่อนทำประมาณ 1 เดือน
- หากต้องทำการเลเซอร์ในบริเวณที่ต้องการฉีดฟิลเลอร์ ควรทำก่อนอย่างน้อย 3 วัน เพราะหลังจากฉีดฟิลเลอร์ต้องงดเป็นเวลา 2 อาทิตย์
- งดดื่มแอลกฮอล์ และ กิจกรรมที่ทำให้เลือดสูบฉีด เช่น เข้าซาวน่า ออกกำลังกาย cardio เป็นเวลา 24 ชม.ก่อนทำ ควรทำต่อเนื่องหลังฉีดร่วมด้วย
หลังฉีดฟิลเลอร์
- ห้ามนอนราบหลังการฉีดฟิลเลอร์ 3 – 4 ชั่วโมง และช่วง 12 ชั่วโมงแรก ห้ามแต่งหน้าหรือใช้ครีมบำรุงทุกชนิด
- ห้ามออกกำลังกายภายใน 48 ชั่วโมงแรก หรือสัมผัสความร้อนด้วยวิธีต่างๆ รวมทั้งห้ามถูหน้าแรงๆ ด้วยเช่นกัน
- ควรดื่มน้ำมาก ๆ ประมาณวันละ 12 แก้ว เพื่อเข้าไปเพิ่มความชุ่มชื้นและให้ฟิลเลอร์ที่ฉีดไปอุ้มน้ำและฟูเร็วมากขึ้น
- การประคบเย็นอย่างผิดวิธีอาจทำให้ฟิลเลอร์ที่ฉีด เกิดการเคลื่อนและไม่เกาะผิวได้ ควรประคบเย็นตามคำแนะนำของแพทย์ในบางกรณีเท่านั้น หากสังเกตว่าเกิดอาการผิดปกติให้รีบพบแพทย์ทันที
- ให้งดเลเซอร์ร้อนที่ลงผิวชั้นลึกทุกชนิด หลังฉีดฟิลเลอร์ ควรงดอย่างน้อย 2 อาทิตย์
นอกจากการปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้ ยังมีวิธีการดูแลผิวหน้าอื่น ๆ หลังจากการฉีดฟิลเลอร์ในระยะยาว เช่น การเลี่ยงเจอแสงแดดจัด, ทาครีมกันแดดที่มี PA+++ ขึ้นไปทุกครั้งที่ออกไปข้างนอก และเว้นการเข้าซาวน่าหรือที่ร้อนจัด จะช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มประสิทธิภาพของการฉีดฟิลเลอร์ และผลลัพธ์ที่ดี ตรงตามความต้องการของแต่ละบุคคลได้อย่างเหมาะสมและเป็นธรรมชาติ
อ่านเพิ่มเติม : ปัญหาฟิลเลอร์ไหลย้อย
บทสรุป
ฟิลเลอร์อันตรายไหม คำตอบ คือทุกหัตถการความงามย่อมมีความเสี่ยงที่อันตราย และอันตราย ควรเลือกคลินิกที่มีมาตรฐาน มีใบรับรองสถานพยาบาล 11 หลักชัดเจน แพทย์ที่ทำการรักษาต้องมีความรู้และประสบการณ์ด้านผิวหนังและการฉีดฟิลเลอร์โดยตรง มีรีวิวจากผู้รับบริการจริง ทั้งแบบภาพนิ่ง และเป็นวิดีโอ จะทำให้เห็นข้อเปรียบเทียบในการเลือกคลินิกที่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
การฉีดฟิลเลอร์เป็นหัตถการทางการแพทย์ ไม่ใช่การเสริมความงามทั่วไป ควรได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบ ผู้ที่สนใจฉีดฟิลเลอร์ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินความเหมาะสมและความเสี่ยงเฉพาะบุคคล หรือทางเลือกอื่นๆ นอกเหนือจากการฉีดฟิลเลอร์ สำหรับผู้ที่ไม่เหมาะกับการฉีดฟิลเลอร์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ที่ทำการรักษา