สาวๆ หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบถึงภาวะอันตรายหนึ่งที่ควรระมัดระวัง นั่นก็คือ ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน เป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน ซึ่งมาจากการที่ช่องคลอดถูกใช้งานอย่างหนักหรือถูกกดทับจากบริเวณใกล้เคียง ถ้าปล่อยให้ปัญหานี้เรื้อรัง อาจทำให้เกิดปัญหาและผลข้างเคียงตามมาได้
สารบัญ
ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน คืออะไร
ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน เป็นภาวะที่อวัยวะในอุ้งเชิงกรานเคลื่อนต่ำลงมาจากตำแหน่งปกติของผนังช่องคลอด ทำให้อวัยวะในอุ้งเชิงกรานยื่นย้อยลงมา เกิดเป็นก้อนนูนออกในช่องคลอดหรือโผล่พ้นออกมานอกช่องคลอด โดยอวัยวะในอุ้งเชิงกราน ประกอบด้วย มดลูก ช่องคลอด กระเพาะปัสสาวะและลำไส้ ก้อนเนื้อของช่องคลอด หรือมดลูกโผล่ออกจากช่องคลอด
บางครั้งอาจพบส่วนของผนังกระเพาะปัสสาวะ ผนังลำไส้เล็ก หรือผนังไส้ตรง เบียดดันส่วนของผนังช่องคลอด ตำแหน่งที่อยู่ติดชิดกันจนเกิดเป็นลักษณะโพรง
ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน มีสาเหตุมาจากอะไร
ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อเกี่ยวพันบริเวณอุ้งเชิงกรานอ่อนแรง และการที่เส้นประสาทถูกทำลาย แต่สาเหตุหลัก ๆ แล้วเกิดพฤติกรรมที่ส่งผลต่ออุ้งเชิงกรานทั้งหมด เช่น การคลอดบุตรเพราะมีผลต่อความตรึงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน อายุหรือช่วงวัยหมดประจำเดือนมีผลต่อการหย่อน
รวมถึงฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีผลต่อการตรึงตัวของกล้ามเนื้อใกล้กระเพาะปัสสาวะ ไส้ตรง ช่องคลอด และลดลงเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน การยกของหนัก น้ำหนักเกิน ไอเป็นเวลานาน การหดรัดตัวขณะลำไส้เคลื่อนตัว หรือมะเร็งทำให้เกิดการหย่อนของกล้ามเนื้อได้
อ่านเพิ่มเติม : วิธีการทำรีแพร์
อาการของ ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน
- ปวดหน่วงในท้องน้อย
- รู้สึกถ่วงในช่วงคลอด คล้ายกับจะมีอะไรออกมา
- ปวดหลังบริเวณบั้นเอว
- คลำพบก้อนยื่นออกมาทางปากช่องคลอด ปัสสาวะ เล็ดขณะไอหรือจาม เป็นต้น
- ถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระลำบาก ต้องใช้นิ้วดันส่วนของช่องคลอดที่ยื่นออกมาให้เข้าไปก่อนจึงจะปัสสาวะหรืออุจจาระได้ตามปกติ
- ตกขาวหรือมีเลือดออกตามช่องคลอดซึ่งเกิดจากการเสียดสีกับภายนอก
- อาการผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะเล็ด ขณะไอหรือจาม เป็นต้น
- อาการผิดปกติเกี่ยวกับการถ่ายอุจจาระ เช่น ถ่ายอุจจาระไม่สุด กลั้นอุจจาระไม่ได้
- รู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
อ่านเพิ่มเติม : ขมิบช่องคลอดอย่างไรให้ฟิต
รูปแบบของ ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน
การหย่อนคล้อยของผนังช่องคลอดส่วนหน้า
กระเพาะปัสสาวะหย่อน (Cystocele) ซึ่งจะมีกระเพาะปัสสาวะหย่อนตาม ทำให้เกิดอาการปวดหน่วงในอุ้งเชิงกราน หรือมีก้อนจุกที่ปากช่องคลอด ในกรณีนี้ แพทย์จะทำการแก้ไขด้วยการผ่าตัดรีแพร์ผนังช่องคลอด
การหย่อนคล้อยของผนังช่องคลอดส่วนหลัง
ลำไส้หย่อน (Rectocele) ซึ่งจะมีลำไส้ส่วนทวารหนักหย่อนตาม ทำให้เกิดอาการปวดหน่วงในอุ้งเชิงกราน หรือมีก้อนจุกที่ปากช่องคลอด รวมถึงท้องผูก เพราะผนังที่ยื่นเป็นถุงเข้าไปทางช่องคลอดจะทำให้การขับถ่ายผิดปกติ ในกรณีนี้ แพทย์จะทำการแก้ไขด้วยการผ่าตัดรีแพร์ผนังช่องคลอดส่วนหลัง
มีการหย่อนคล้อยของผนังช่องคลอดทั้งส่วนหน้าและส่วนหลัง
เป็นอาการที่ทั้งกระเพาะปัสสาวะหย่อนและลำไส้หย่อนในเวลาเดียวกัน ในกรณีนี้ แพทย์จะทำการแก้ไขด้วยการผ่าตัดรีแพร์ผนังช่องคลอดทั้งส่วนหน้าและส่วนหลัง
การรักษา ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน
การฝึกขมิบช่องคลอด
ในกรณีที่มดลูกหย่อนคล้อยยังไม่รุนแรงมากนักทำได้โดยการบริหารกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานโดยการขมิบช่องคลอด เป็นวิธีที่ง่ายและสามารถทำได้ทุกที่ ทุกเวลา
การใส่ห่วงพยุงช่องคลอด
อุปกรณ์ที่ทำจากยางมีลักษณะเหมือนโดนัท แพทย์จะทำการใส่อุปกรณ์ชนิดนี้เข้าไปทางช่องคลอดและดันขึ้นไปข้างบนเพื่อทำให้มดลูกและกระเพาะปัสสาวะอยู่ในตำแหน่งเดิม จะช่วยรักษาอาการของโรคทำให้ไม่ต้องผ่าตัดใดๆ
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เกิดภาวะมดลูกหย่อนอย่างรุนแรงอาจไม่เหมาะสมกับการใช้อุปกรณ์ดังกล่าวว เพราะมีโอกาสทำให้เนื้อเยื่อภายในช่องคลอดระคายเคือง รวมทั้งเป็นอุปสรรคเมื่อสอดใส่ยามมีเพศสัมพันธ์ วิธีนี้จะช่วยป้องกันการหย่อนคล้อยได้ชั่วคราว แต่จำเป็นต้องถอดออกเพื่อทำความสะอาดเป็นประจำ
การผ่าตัดรีแพร์
เป็นวิธีการรักษาในภาวะที่มีการหย่อนของผนังช่องคลอด ในกรณีที่มีการหย่อนยานของผนังช่องคลอดทั้งส่วนหน้าและส่วนหลัง เพื่อเย็บติดเพื่อรวบเนื้อเยื่อที่นูนเข้าด้วยกัน แพทย์จะทำการผ่าตัดกระชับช่องคลอด และรักษากระบังลมหย่อน โดยเป็นการผ่าตัดนำผนังช่องคลอดทั้งส่วนหน้าและส่วนหลัง และเนื้อเยื่อส่วนเกินที่ยื่นเข้าไปในช่องคลอดออกไป
รวมทั้งทำการตกแต่งกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ส่วนปลายที่หย่อนคล้อย กรณีที่ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนอย่างรุนแรง แพทย์อาจพิจารณาใช้แผ่นพยุงตาข่ายพิเศษร่วมด้วย เพื่อให้เนื้อเยื่อและอวัยวะในอุ้งเชิงกรานกลับเข้าสู่ตำแหน่งเดิม ทำให้ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนดีขึ้นและกระชับช่องคลอดมากยิ่งขึ้น
เลเซอร์รีแพร์
เลเซอร์รีแพร์ เหมาะสำหรับการรักษากับผู้ที่มีช่องคลอดหย่อนไม่มาก เพราะการทำกระชับช่องคลอดโดยวิธีนี้ก็ยังมีข้อจำกัดเนื่องจากความกระชับที่ได้เป็นผลมาจากการสร้างคอลลาเจนบริเวณรอบๆ ช่องคลอด ซึ่งเนื้อเยื่อช่องคลอดของแต่ละบุคคลก็อาจมีการสร้างคอลลาเจนได้ไม่เท่ากัน และอาจได้ผลลัพธ์ที่ไม่เทียบเท่ากับการผ่าตัด แต่ผู้ที่มีปัญหาช่องคลอดหย่อนคล้อยมากๆ อาจไม่เหมาะกับวิธีนี้
อ่านเพิ่มเติม : ทำรีแพร์ที่ไหนดี
สรุป
ภาวะอุ้งเชิงกราน สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้หญิงทุกวัยพบบ่อยครั้ง แม้ว่าภาวะอวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อนจะไม่ได้เป็นภาวะที่เสี่ยงอันตรายต่อชีวิต แต่ก็เป็นปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวัน ควรรีบทำการรักษาให้ด่วนที่สุด