ฟิลเลอร์ใต้ตาอันตรายไหม? รวมสิ่งที่ควรรู้ก่อนฉีด

ฟิลเลอร์ใต้ตาอันตรายไหม อะไรบ้างที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจฉีด

ฟิลเลอร์ใต้ตาอันตรายไหม คำถามที่พบบ่อยโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่กำลังมองหาวิธีแก้ปัญหาถุงใต้ตา รอยคล้ำ และร่องลึกใต้ตาที่ทำให้ดูอ่อนล้าและแก่กว่าวัย การฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมเพราะให้ผลเร็วและไม่ต้องผ่าตัด แต่หลายคนก็ยังกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น บทความนี้จะให้ข้อมูลที่จำเป็นเพื่อช่วยให้ตัดสินใจได้อย่างรอบคอบก่อนเข้ารับการฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา

ฟิลเลอร์ใต้ตาคืออะไร? สามารถแก้ปัญหาอะไรได้บ้าง?

ฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นการฉีดสารเติมเต็มเพื่อแก้ไขปัญหาบริเวณใต้ตา ซึ่งในประเทศไทย ฟิลเลอร์ที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) คือฟิลเลอร์ที่มีส่วนประกอบของกรดไฮยาลูโรนิก (Hyaluronic Acid หรือ HA) เท่านั้น

ฟิลเลอร์ใต้ตาคืออะไร? สามารถแก้ปัญหาอะไรได้บ้าง?

ฟิลเลอร์ใต้ตาสามารถแก้ไขปัญหาได้หลากหลาย ดังนี้

  • ปัญหาใต้ตาคล้ำ ขอบตาดำ – ฟิลเลอร์จะเติมเต็มผิวบริเวณใต้ตาให้ดูฟูขึ้น ทำให้แสงกระทบผิวได้มากขึ้น ใต้ตาจึงดูสว่างขึ้น
  • ปัญหาใต้ตาลึก เบ้าตาลึก ตาโหล – ฟิลเลอร์จะถูกเติมเข้าไปในบริเวณที่เป็นเบ้าลึก ทำให้ใต้ตาดูตื้นขึ้น
  • ปัญหาถุงใต้ตา ใต้ตาหย่อนคล้อย – ฟิลเลอร์ชั้นลึกจะช่วยพยุงโครงสร้างผิวที่อ่อนแรง ทำให้ถุงใต้ตาดูกระชับขึ้น
  • ปัญหาริ้วรอยใต้ตา ผิวเหี่ยว – ฟิลเลอร์ซึ่งเป็นสารอุ้มน้ำจะทำให้ผิวดูอิ่มน้ำ ริ้วรอยใต้ตาจึงดูเรียบเนียนขึ้น

ฟิลเลอร์ใต้ตาอันตรายหรือไม่? ปัจจัยที่ส่งผลต่อความปลอดภัย

การฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นหัตถการที่มีความเสี่ยงต่ำ หากได้รับการดูแลโดยแพทย์ผู้ผ่านการฝึกอบรมเฉพาะทางและมีความชำนาญ แต่เนื่องจากบริเวณรอบดวงตามีความบอบบางและมีเส้นเลือดมาก จึงมีความเสี่ยงที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้หากไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม

ฟิลเลอร์ใต้ตาอันตรายหรือไม่? ปัจจัยที่ส่งผลต่อความปลอดภัย

ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความปลอดภัยในการฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา ได้แก่

  1. ชนิดของฟิลเลอร์
    • ฟิลเลอร์กรดไฮยาลูโรนิก (HA Filler) – เป็นชนิดที่ปลอดภัยที่สุด ให้ผลลัพธ์เป็นธรรมชาติ สลายได้เอง และสามารถแก้ไขได้ด้วยการฉีดเอนไซม์ hyaluronidase กรณีไม่พอใจผลการทำ – ฟิลเลอร์ (Filler) คืออะไร? รวมทุกเรื่องที่ต้องรู้ก่อนฉีดครั้งแรก!
    • ฟิลเลอร์แบบกึ่งถาวรหรือฟิลเลอร์ปลอม – มีความเสี่ยงสูงกว่า เพราะไม่สามารถสลายด้วยสารละลายได้ หากเกิดปัญหาต้องรอให้สลายเองตามธรรมชาติหรืออาจต้องผ่าตัดเอาออก
  2. ความเชี่ยวชาญของแพทย์
    • แพทย์ต้องผ่านการฝึกอบรมเฉพาะทางและมีความชำนาญเกี่ยวกับการฉีดฟิลเลอร์
    • ต้องมีความเข้าใจในกายวิภาคของใบหน้าและการแก้ไขภาวะแทรกซ้อน
    • ต้องสามารถประเมินปัญหาและเลือกใช้ฟิลเลอร์ให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
  3. มาตรฐานของคลินิก
    • คลินิกต้องได้รับการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุข
    • ต้องมีห้องผ่าตัดหรือห้องทำหัตถการที่สะอาดได้มาตรฐาน
    • ต้องมีอุปกรณ์ฉุกเฉินและเวชภัณฑ์พร้อมรับมือกับภาวะแทรกซ้อน
    • ต้องมีทีมแพทย์และบุคลากรที่ผ่านการอบรมด้านความปลอดภัย

ผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

การฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ทั้งผลข้างเคียงทั่วไปที่ไม่รุนแรงและผลข้างเคียงที่รุนแรง

ผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

ผลข้างเคียงทั่วไป

  • อาการบวม – เป็นผลข้างเคียงทั่วไปที่มักจะรุนแรงที่สุดในช่วง 24-48 ชั่วโมงแรก และค่อยๆ ลดลง
  • รอยช้ำ – เกิดจากเส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังแตก จะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเขียว เหลือง และหายไปใน 7-14 วัน
  • ผิวหนังแดง – เป็นปฏิกิริยาอักเสบเฉพาะที่ เกิดทันทีหลังฉีดและคงอยู่ 2-3 วัน
  • อาการระบม – เป็นความรู้สึกเจ็บบริเวณที่ฉีด จะรุนแรงในช่วง 24 ชั่วโมงแรกและทุเลาลงใน 3-5 วัน
  • การเกิดก้อนไม่เรียบเนียน – เกิดจากฟิลเลอร์กระจายตัวไม่สม่ำเสมอ อาจเกิดจากเทคนิคการฉีด หรือปริมาณฟิลเลอร์มากเกินไป
  • ใต้ตาเขียวคล้ำ – เมื่อฉีดฟิลเลอร์ตื้นเกินไป ทำให้เห็นเป็นสีคล้ำหรือสีฟ้าอมม่วงใต้ผิวหนัง

ภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

  • ฟิลเลอร์เข้าเส้นเลือด – ถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายที่สุด สารฟิลเลอร์อาจเข้าไปอุดตันในเส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงลูกตา ทำให้เกิดเนื้อตายหรือตาบอดถาวรได้
  • การติดเชื้อ – แม้จะพบได้ไม่บ่อยแต่มีความรุนแรง อาจเกิดได้ทั้งในระยะเฉียบพลันและระยะยาว การติดเชื้อในบริเวณใต้ตามีความเสี่ยงสูงที่จะลุกลามเข้าเบ้าตา
  • อาการแพ้ – อาจเกิดตั้งแต่การแพ้เฉียบพลันทันทีหลังฉีดไปจนถึงการแพ้ที่เกิดขึ้นช้า อาจแสดงออกตั้งแต่ผื่นลมพิษไปจนถึงภาวะแพ้รุนแรง

วิธีการแก้ไขเมื่อเกิดปัญหาจากการฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา

หากเกิดปัญหาหลังการฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา มีวิธีการแก้ไขดังนี้

วิธีการแก้ไขเมื่อเกิดปัญหาจากการฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา
  • การฉีดสลายฟิลเลอร์
    • ใช้เอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดส (Hyaluronidase) ฉีดเข้าไปในบริเวณที่มีปัญหา
    • เหมาะสำหรับแก้ไขปัญหาเช่น การกระจายตัวไม่สม่ำเสมอ เกิดก้อนใต้ผิวหนัง หรือการอุดตันของหลอดเลือด
    • สำหรับกรณีที่เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงเฉียบพลัน โดยเฉพาะการอุดตันของหลอดเลือด ควรทำการฉีดสลายภายในระยะเวลา 90 นาทีหลังมีอาการ
  • การผ่าตัด
    • เป็นทางเลือกสุดท้ายในการแก้ไขปัญหา เมื่อการฉีดสลายฟิลเลอร์ไม่ได้ผล หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง
    • ต้องทำโดยศัลยแพทย์ตกแต่งที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
    • มีความเสี่ยงสูง ต้องใช้ระยะเวลาพักฟื้นนาน และมีค่าใช้จ่ายสูง

การเลือกคลินิกและแพทย์ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา ให้ปลอดภัย

การเลือกคลินิกและแพทย์ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา ให้ปลอดภัย

สำหรับใครที่กำลังพิจารณาฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา การเลือกคลินิกและแพทย์ที่ผ่านการรับรองตามมาตรฐานวิชาชีพเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่ต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากบริเวณใต้ตาเป็นพื้นที่ที่มีความบอบบางและซับซ้อน การฉีดฟิลเลอร์จึงต้องอาศัยทักษะความชำนาญเฉพาะทางและความระมัดระวังเป็นพิเศษ

 ฟิลเลอร์ที่ไหนดี? คู่มือการเลือกคลินิกฉีดฟิลเลอร์ให้ปลอดภัย

หากเลือกสถานที่หรือผู้ให้บริการที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลกระทบต่อทั้งความสวยงามและสุขภาพในระยะยาว นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงจากการได้รับฟิลเลอร์ปลอมหรือฟิลเลอร์ที่ไม่ได้คุณภาพ  อุปกรณ์ที่ใช้ไม่สะอาดหรือไม่ได้มาตรฐานยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย ลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อน และได้ผลลัพธ์ที่ดี  ผู้รับบริการควรพิจารณาปัจจัยสำคัญต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ใบอนุญาตคลินิก

คลินิกที่ให้บริการฉีดฟิลเลอร์ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลอย่างถูกต้องจากกระทรวงสาธารณสุข มีการแสดงใบอนุญาตในที่เปิดเผย และมีมาตรฐานด้านความสะอาดและความปลอดภัยตามที่กฎหมายกำหนด

ผู้รับบริการสามารถสอบถามเลขที่ใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลได้ และนำไปตรวจสอบกับทางสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข หรือสามารถค้นหาผ่านระบบสืบค้นข้อมูลสถานพยาบาลได้

  • ใบประกอบวิชาชีพแพทย์

แพทย์ผู้ให้บริการต้องมีใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ยังไม่หมดอายุ และควรผ่านการอบรมเฉพาะทางด้านความงามและมีความชำนาญในการทำหัตถการด้านนี้ รวมถึงควรสอบถามประวัติการศึกษาอบรมและการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการทำหัตถการด้านความงาม โดยผู้รับบริการสามารถตรวจสอบข้อมูลการขึ้นทะเบียนใบอนุญาตของแพทย์ได้จากเว็บไซต์ของแพทยสภา http://www.tmc.or.th 

  • ชนิดของฟิลเลอร์

ควรเลือกใช้ฟิลเลอร์ที่ได้รับการรับรองจาก อย. และเป็นแบรนด์ที่มีความน่าเชื่อถือ คลินิกควรแสดงข้อมูลผลิตภัณฑ์อย่างครบถ้วน รวมถึงเลขที่ใบรับรอง วันหมดอายุ และแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์

  • รีวิวและชื่อเสียง

ศึกษารีวิวและประสบการณ์จากผู้ที่เคยใช้บริการ แต่ควรพิจารณาอย่างรอบคอบเนื่องจากรีวิวอาจมีทั้งจริงและเท็จ ควรสอบถามจากคนรู้จักที่เคยใช้บริการจริง และตรวจสอบประวัติการร้องเรียนหรือปัญหาที่เคยเกิดขึ้นกับคลินิก

นอกจากนี้ควรตรวจสอบประวัติการร้องเรียนหรือการฟ้องร้องที่เคยเกิดขึ้นกับคลินิกหรือแพทย์ด้วย เพราะสามารถบอกได้ถึงมาตรฐานและความน่าเชื่อถือของสถานที่ให้บริการนั้น ๆ

  • การให้คำปรึกษาและติดตามผล

คลินิกและแพทย์ที่ดีควรให้คำปรึกษาอย่างละเอียดก่อนทำหัตถการ อธิบายข้อดี ข้อเสีย และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงมีการนัดติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง

ในการให้คำปรึกษา แพทย์ควรสอบถามความต้องการและความคาดหวังของผู้รับบริการ พร้อมประเมินสภาพผิวและให้คำแนะนำถึงวิธีการที่เหมาะสมเป็นรายบุคคล โดยแพทย์ควรให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริงเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการรักษา รวมถึงข้อจำกัดและผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้ผู้รับบริการเข้าใจและตัดสินใจได้รอบคอบ

ส่วนหลังการรักษา ผู้รับบริการจะได้รับเอกสารคำแนะนำที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อทบทวนข้อปฏิบัติต่าง ๆ รวมถึงสัญญาณอาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์ ทั้งนี้ แพทย์และคลินิกที่พร้อมดูแลรับผิดชอบกรณีเกิดปัญหาภาวะแทรกซ้อนหลังการรักษา  ผู้รับบริการควรได้รับช่องทางติดต่อที่สะดวกและชัดเจน เพื่อสอบถามข้อสงสัยหรือแจ้งอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นหลังทำหัตถการได้ทันที

สรุป

คำถามว่า ฟิลเลอร์ใต้ตาอันตรายไหม? หมอขอตอบแบบนี้ค่ะ ว่าเพื่อลดความเสี่ยงจากการทำหัตถการ ควรเลือกแพทย์ที่ผ่านการอบรมและมีความรู้ความเข้าใจเฉพาะทางด้านนี้ และใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองจาก อย. ในสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐาน ถึงแม้จะมีความเสี่ยงที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากบริเวณใต้ตาเป็นพื้นที่บอบบางและมีเส้นเลือดมาก

กรณีเกิดปัญหาแทรกซ้อน ปัจจุบันมีวิธีแก้ไขที่ได้ผล คือ การฉีดสลายและการผ่าตัด ซึ่งต้องพิจารณาความเหมาะสมเป็นรายกรณีดังนั้น สำคัญที่สุดคือการเลือกแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรมเฉพาะทางและมีความชำนาญ รวมถึงสถานพยาบาลที่พร้อมรับมือกับภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

ก่อนตัดสินใจทำ ควรปรึกษาแพทย์ถึงข้อบ่งชี้ ข้อห้าม และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นให้ชัดเจน พร้อมให้ข้อมูลประวัติการแพ้ยาและโรคประจำตัว และเมื่อทำแล้ว ถ้าสังเกตเห็นความผิดปกติอะไร ก็ควรรีบแจ้งแพทย์ทันที อย่าปล่อยทิ้งไว้ เพื่อให้ได้รับการรักษาแก้ไขได้ทัน

CONTACT FOR SPECIAL PRIVILEGES

กดด้านล่างติดเราเพื่อสอบถามรายละเอียดเเละสิทธิ์อื่นๆ

โทร RWC
line rwc
Facebook rwc
โทร RWC
Facebook rwc
line rwc

ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง RWC Clinic

ทีมแพทย์ RWC

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า