ฟิลเลอร์ใต้ตาอันตรายไหม? อะไรบ้างที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจฉีด

ฟิลเลอร์ใต้ตาอันตรายไหม อะไรบ้างที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจฉีด

มีคำถามที่พบบ่อยว่า ฟิลเลอร์ใต้ตาอันตรายไหม? โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงานที่ต้องการแก้ปัญหาถุงใต้ตา รอยคล้ำ และร่องลึกใต้ตาที่ทำให้ดูอ่อนล้า แก่กว่าวัย แม้เป็นทางเลือกที่ได้ผลเร็วและไม่ต้องผ่าตัด แต่หลายคนก็ยังกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น

อย่างที่ทราบว่า บริเวณใต้ตาเป็นพื้นที่ที่ละเอียดอ่อนซับซ้อน มีเส้นเลือดเส้นประสาทจำนวนมาก และผิวบริเวณนี้ยังบอบบางเป็นพิเศษ การฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาจึงไม่ควรตัดสินใจทำด้วยความรีบร้อนหรือขาดข้อมูลที่ถูกต้อง เพราะถึงเป็นหัตถการที่ความเสี่ยงต่ำ แต่ก็มีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นถ้าไม่ได้รับการดูแลจากแพทย์ที่ผ่านการอบรมเฉพาะทาง และมีความชำนาญ

ฟิลเลอร์ใต้ตาอันตรายไหม?

ฟิลเลอร์ใต้ตาอันตรายไหม

ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา เป็นหัตถการที่มีความเสี่ยงต่ำ ถ้าได้รับการดูแลจากแพทย์ผ่านการฝึกอบรมเฉพาะทางด้านผิวหนัง ความงาม และมีความชำนาญเกี่ยวกับการฉีดฟิลเลอร์และใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน แต่เพราะบริเวณรอบดวงตามีความบอบบางและมีเส้นเลือดมาก จึงมีความเสี่ยงที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ อย่างการอักเสบติดเชื้อ การอุดตันของหลอดเลือด หรือการเกิดก้อนนูนผิดรูปได้หากไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม

ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาจะปลอดภัยหรืออันตราย ดูเรื่องอะไร?

การฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา เป็นหัตถการที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนและความเชำนาญสูงในการรักษา เพื่อความปลอดภัยของผู้รับการรักษาแนะนำให้พิจารณา 3 เรื่องหลัก ๆ ดังนี้

ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาจะปลอดภัยหรืออันตราย ดูเรื่องอะไร

ชนิดของฟิลเลอร์

  1. ฟิลเลอร์กรดไฮยาลูโรนิก (HA Filler)

เป็นชนิดแพร่หลายที่สุดในปัจจุบัน เพราะมีความปลอดภัยสูง ให้ผลลัพธ์เป็นธรรมชาติ สลายได้เอง และสามารถแก้ไขได้ด้วยการฉีดเอนไซม์ hyaluronidase กรณีไม่พอใจผลการทำ

  1. ฟิลเลอร์แบบกึ่งถาวร

ฟิลเลอร์กึ่งถาวรส่วนมากใช้เติมเต็มในชั้นลึกเพื่อเสริมโครงสร้างให้ชัดเจน ให้ผลลัพธ์ที่คงทนกว่า HA Filler แต่มีความยืดหยุ่นน้อยกว่า ถ้าฉีดไม่ถูกตำแหน่งหรือมากเกินไปจะแก้ไขยาก เสี่ยงสูงต่อการเกิดก้อนและผิวขรุขระได้

อย่างไรก็ตามมีความเสี่ยงสูงกว่าในการเกิดภาวะแทรกซ้อน เพราะไม่สามารถสลายด้วยสารละลายได้ หากเกิดปัญหาต้องรอให้สลายเองตามธรรมชาติ มีโอกาสเกิดก้อนแข็งใต้ผิวหนัง บางกรณีอาจต้องผ่าตัดเอาออกหากเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และใช้เวลาฟื้นตัวนานกว่า HA Filler

  1. ฟิลเลอร์ที่ผลิตจากไขมันตัวเอง

ฟิลเลอร์ที่ผลิตจากไขมันตัวเอง ไม่เสี่ยงต่อการแพ้เหมือนฟิลเลอร์สังเคราะห์ แต่ข้อเสียคือ ต้องผ่าตัดดูดไขมัน ระยะพักฟื้นนาน ผลลัพธ์ไม่แน่นอน อาจต้องทำซ้ำ

แนะนำว่าผู้ที่สนใจทำฟิลเลอร์ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาเลือกชนิดของฟิลเลอร์ให้เหมาะกับสภาพผิวและความต้องการของแต่ละบุคคล ตรวจสอบประวัติการแพ้และโรคประจำตัว เลือกสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐาน และสังเกตอาการผิดปกติหลังทำเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

ความเชี่ยวชาญของแพทย์

การฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นหัตถการที่ต้องการความแม่นยำและความชำนาญเฉพาะทางสูง เพราะบริเวณรอบดวงตามีความซับซ้อนและบอบบาง การเลือกแพทย์ผู้ผ่านการฝึกอบรมเฉพาะทางและมีความชำนาญด้านนี้ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การรักษามีความเสี่ยงต่ำและได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ

การเลือกแพทย์ผู้เชี่ยวชาญควรพิจารณาจาก:

  • วุฒิบัตรและใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
  • ประวัติการทำงานด้านการฉีดฟิลเลอร์โดยเฉพาะบริเวณใต้ตา
  • ผลงานที่ผ่านมาและความพึงพอใจของผู้รับการรักษา
  • ความเข้าใจในกายวิภาคของใบหน้าและการแก้ไขภาวะแทรกซ้อน
  • การให้คำปรึกษาและการวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
  • การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ฟิลเลอร์ที่ได้มาตรฐาน ผ่านการรับรองจาก อย. 

มาตรฐานของคลินิก

สถานพยาบาลที่ให้บริการฉีดฟิลเลอร์ ควรมีมาตรฐานดังนี้

  • ได้รับการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • มีห้องผ่าตัดหรือห้องทำหัตถการที่สะอาดได้มาตรฐาน
  • มีอุปกรณ์ฉุกเฉินและเวชภัณฑ์พร้อมรับมือกับภาวะแทรกซ้อน
  • มีระบบการจัดเก็บและการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน
  • มีทีมแพทย์และบุคลากรที่ผ่านการอบรมด้านความปลอดภัย และการช่วยชีวิตฉุกเฉิน
  • สามารถตรวจสอบประวัติของแพทย์ได้จากเว็บไซต์แพทยสภา 

อันตรายที่อาจเกิดจากการฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา

บริเวณใต้ตาเป็นพื้นที่ที่บอบบางและมีเส้นเลือดอยู่มาก การฉีดจึงต้องทำด้วยความระมัดระวังสูง ผู้สนใจทำหัตถการนี้ควรทราบถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา ทั้งผลข้างเคียงทั่วไปและภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง

ผลข้างเคียงทั่วไป

ผลข้างเคียงทั่วไปหลังฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา
  • บวม – เป็นผลข้างเคียงทั่วไปหลังการฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา โดยอาการบวมมักจะรุนแรงที่สุดในช่วง 24-48 ชั่วโมงแรก และค่อย ๆ ลดลง
  • รอยช้ำ –  เป็นผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยเช่นเดียวกัน รอยช้ำเกิดจากเส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังแตก แสดงเป็นรอยช้ำสีม่วงคล้ำหรือน้ำเงิน พบบ่อยในผู้ที่ทานยาละลายลิ่มเลือด รอยจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเขียว เหลือง และหายไปใน 7-14 วัน
  • ผิวหนังแดง –  เป็นปฏิกิริยาอักเสบเฉพาะที่ เกิดทันทีหลังฉีดและคงอยู่ 2-3 วัน หากแดงรุนแรงหรือนานเกิน 1 สัปดาห์ให้รีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเกิดการติดเชื้อหรือแพ้
  • อาการระบม – เป็นความรู้สึกเจ็บบริเวณที่ฉีด อาการระบมมักจะรุนแรงในช่วง 24 ชั่วโมงแรกและค่อย ๆ ทุเลาลงใน 3-5 วัน การประคบเย็นในช่วง 24 ชั่วโมงแรกจะช่วยบรรเทาอาการได้ 
  • การเกิดก้อนไม่เรียบเนียน – เกิดจากฟิลเลอร์กระจายตัวไม่สม่ำเสมอ อาจเกิดจากเทคนิคการฉีด หรือปริมาณฟิลเลอร์มากเกินไป สามารถแก้ไขด้วยการนวดเบาๆ หากยังมีก้อนหลัง 2 สัปดาห์ อาจต้องฉีดสารสลายฟิลเลอร์
  • ใต้ตาเขียวคล้ำ (Tyndall effect) – เมื่อฉีดฟิลเลอร์ตื้นเกินไป ทำให้เห็นเป็นสีคล้ำหรือสีฟ้าอมม่วงใต้ผิวหนัง พบได้บ่อยในผู้ที่มีผิวบาง ปัญหานี้สามารถแก้ไขด้วยการฉีดสารสลายฟิลเลอร์ และอาจฉีดใหม่ในระดับที่ลึกขึ้น

ภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงหลังฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา
  • ฟิลเลอร์เข้าเส้นเลือด (ตาบอด, เนื้อตาย) – ภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายที่สุดของการฉีดฟิลเลอร์คือการที่สารฟิลเลอร์เข้าไปอุดตันในเส้นเลือดแดง โดยเฉพาะในบริเวณใต้ตาซึ่งมีเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงลูกตาและผิวหนังจำนวนมาก หากสารฟิลเลอร์ไปอุดตันเส้นเลือดที่จอประสาทตา อาจทำให้ตาบอดถาวร สำหรับอาการสำคัญที่ต้องสังเกต ได้แก่ อาการปวดรุนแรงทันทีขณะฉีด ผิวหนังซีดขาวหรือเขียวคล้ำผิดปกติ การมองเห็นผิดปกติ ปวดตารุนแรง หรือปวดศีรษะฉับพลัน หากพบอาการเหล่านี้ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
  • การติดเชื้อ – การติดเชื้อเป็นภาวะแทรกซ้อนที่แม้จะพบได้ไม่บ่อยแต่มีความรุนแรง สามารถเกิดได้ทั้งในระยะเฉียบพลัน (ภายใน 24-72 ชั่วโมง) และระยะยาว (หลายสัปดาห์หรือหลายเดือน) สาเหตุหลักมาจากเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนระหว่างการฉีด หรือการติดเชื้อภายหลังผ่านทางกระแสเลือด การติดเชื้อในบริเวณใต้ตามีความเสี่ยงสูงที่จะลุกลามเข้าเบ้าตา ทำให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อรอบดวงตา ซึ่งอาจคุกคามการมองเห็นได้ หากมีอาการบวมแดงมากกว่าปกติ มีไข้ ปวดรุนแรง มีหนองหรือสิ่งคัดหลั่ง ผิวหนังร้อนผิดปกติ ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
  • อาการแพ้ – อาการแพ้สามารถเกิดได้ตั้งแต่การแพ้เฉียบพลันทันทีหลังฉีด ไปจนถึงการแพ้ที่เกิดขึ้นช้าหลายวันหรือหลายสัปดาห์ สำหรับอาการแพ้เฉียบพลันอาจแสดงออกตั้งแต่ ผื่นลมพิษ บวมแดงคัน ไปจนถึงภาวะแพ้รุนแรง (anaphylaxis)

การฉีดฟิลเลอร์ถือเป็นหัตถการที่ต้องการความระมัดระวังสูง ผู้เข้ารับการรักษาจำเป็นต้องแจ้งประวัติสุขภาพให้แพทย์ทราบอย่างละเอียด ทั้งโรคประจำตัว ประวัติการแพ้ยา ยาที่ใช้ประจำ และประวัติการผ่าตัดหรือทำหัตถการบริเวณใบหน้า เพื่อให้แพทย์สามารถประเมินความเสี่ยงได้อย่างถูกต้อง

กรณีพบความผิดปกติใด ๆ ให้รีบพบแพทย์ทันที ไม่ควรรอดูอาการเอง เพราะอาจเกิดอันตรายถึงชีวิตหรือสูญเสียการมองเห็นถาวร การแจ้งประวัติสุขภาพอย่างครบถ้วนและการสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยป้องกันและลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

ทางแก้เมื่อเกิดปัญหาจากการฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา

ทางแก้เมื่อเกิดปัญหาจากการฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา

การฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นหัตถการที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถช่วยแก้ไขปัญหาร่องตาลึกกับถุงใต้ตาได้ตรงจุดและได้ผลดี อย่างไรก็ตาม การทำหัตถการนี้อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ถ้าไม่ได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้ผ่านการฝึกอบรมด้านนี้โดยเฉพาะ และมีความชำนาญในการทำหัตถการ

การฉีดสลายฟิลเลอร์

การฉีดสลายฟิลเลอร์

การฉีดสลายฟิลเลอร์ด้วยเอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดส เป็นวิธีการแก้ไขที่นิยมใช้เมื่อเกิดปัญหาจากการฉีดฟิลเลอร์ชนิด Hyaluronic Acid โดยเฉพาะในกรณีที่พบการกระจายตัวไม่สม่ำเสมอ เกิดก้อนใต้ผิวหนัง หรือมีการอุดตันของหลอดเลือด แพทย์จะทำการฉีดเอนไซม์เข้าไปในบริเวณที่มีปัญหา ซึ่งจะทำให้ฟิลเลอร์เดิมค่อย ๆ สลายตัวลง โดยทั่วไปจะเห็นผลภายใน 24-48 ชั่วโมง

สำหรับกรณีที่เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงเฉียบพลัน โดยเฉพาะการอุดตันของหลอดเลือด การฉีดสลายฟิลเลอร์ถือเป็นการรักษาหลักที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง แพทย์จำเป็นต้องดำเนินการฉีดสลายภายในระยะเวลา 90 นาทีหลังมีอาการ  เพื่อลดความเสี่ยงของการสูญเสียการมองเห็นซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากการอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงดวงตา

การฉีดสลายฟิลเลอร์ต้องทำโดยแพทย์ผู้ผ่านการฝึกอบรมด้านนี้โดยเฉพาะเท่านั้น เนื่องจากการฉีดในปริมาณและตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้

การผ่าตัด

การผ่าตัด

การผ่าตัดเป็นทางเลือกสุดท้ายในการแก้ไขปัญหาจากการฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา มักพิจารณาในกรณีที่การฉีดสลายฟิลเลอร์ไม่ได้ผล หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่ต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เช่น การเกิดการอักเสบรุนแรง การติดเชื้อ หรือมีการสะสมของฟิลเลอร์เป็นก้อนแข็งที่ไม่สามารถสลายได้ด้วยวิธีอื่น การผ่าตัดต้องทำโดยศัลยแพทย์ตกแต่งที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ภายใต้การดมยาสลบหรือการใช้ยาชาเฉพาะที่

ทั้งนี้ การผ่าตัดถือเป็นทางเลือกสุดท้ายเสมอ เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง ต้องใช้ระยะเวลาพักฟื้นนาน และมีค่าใช้จ่ายสูง แพทย์จึงมักพิจารณาเฉพาะในกรณีที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น

หากผู้รับการรักษาพบความผิดปกติใดๆ หลังการฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพื่อให้สามารถรับการรักษาได้อย่างถูกวิธีและทันเวลา อันจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายได้

การเลือกคลินิกและแพทย์ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา ให้ปลอดภัย

การเลือกคลินิกและแพทย์ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา

สำหรับใครที่กำลังพิจารณาฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา การเลือกคลินิกและแพทย์ที่ผ่านการรับรองตามมาตรฐานวิชาชีพเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่ต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากบริเวณใต้ตาเป็นพื้นที่ที่มีความบอบบางและซับซ้อน การฉีดฟิลเลอร์จึงต้องอาศัยทักษะความชำนาญเฉพาะทางและความระมัดระวังเป็นพิเศษ

 ฟิลเลอร์ที่ไหนดี? คู่มือการเลือกคลินิกฉีดฟิลเลอร์ให้ปลอดภัย

หากเลือกสถานที่หรือผู้ให้บริการที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลกระทบต่อทั้งความสวยงามและสุขภาพในระยะยาว นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงจากการได้รับฟิลเลอร์ปลอมหรือฟิลเลอร์ที่ไม่ได้คุณภาพ  อุปกรณ์ที่ใช้ไม่สะอาดหรือไม่ได้มาตรฐานยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย ลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อน และได้ผลลัพธ์ที่ดี  ผู้รับบริการควรพิจารณาปัจจัยสำคัญต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ใบอนุญาตคลินิก

คลินิกที่ให้บริการฉีดฟิลเลอร์ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลอย่างถูกต้องจากกระทรวงสาธารณสุข มีการแสดงใบอนุญาตในที่เปิดเผย และมีมาตรฐานด้านความสะอาดและความปลอดภัยตามที่กฎหมายกำหนด

ผู้รับบริการสามารถสอบถามเลขที่ใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลได้ และนำไปตรวจสอบกับทางสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข หรือสามารถค้นหาผ่านระบบสืบค้นข้อมูลสถานพยาบาลได้

  • ใบประกอบวิชาชีพแพทย์

แพทย์ผู้ให้บริการต้องมีใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ยังไม่หมดอายุ และควรผ่านการอบรมเฉพาะทางด้านความงามและมีความชำนาญในการทำหัตถการด้านนี้ รวมถึงควรสอบถามประวัติการศึกษาอบรมและการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการทำหัตถการด้านความงาม โดยผู้รับบริการสามารถตรวจสอบข้อมูลการขึ้นทะเบียนใบอนุญาตของแพทย์ได้จากเว็บไซต์ของแพทยสภา http://www.tmc.or.th 

  • ชนิดของฟิลเลอร์

ควรเลือกใช้ฟิลเลอร์ที่ได้รับการรับรองจาก อย. และเป็นแบรนด์ที่มีความน่าเชื่อถือ คลินิกควรแสดงข้อมูลผลิตภัณฑ์อย่างครบถ้วน รวมถึงเลขที่ใบรับรอง วันหมดอายุ และแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์

  • รีวิวและชื่อเสียง

ศึกษารีวิวและประสบการณ์จากผู้ที่เคยใช้บริการ แต่ควรพิจารณาอย่างรอบคอบเนื่องจากรีวิวอาจมีทั้งจริงและเท็จ ควรสอบถามจากคนรู้จักที่เคยใช้บริการจริง และตรวจสอบประวัติการร้องเรียนหรือปัญหาที่เคยเกิดขึ้นกับคลินิก

นอกจากนี้ควรตรวจสอบประวัติการร้องเรียนหรือการฟ้องร้องที่เคยเกิดขึ้นกับคลินิกหรือแพทย์ด้วย เพราะสามารถบอกได้ถึงมาตรฐานและความน่าเชื่อถือของสถานที่ให้บริการนั้น ๆ

  • การให้คำปรึกษาและติดตามผล

คลินิกและแพทย์ที่ดีควรให้คำปรึกษาอย่างละเอียดก่อนทำหัตถการ อธิบายข้อดี ข้อเสีย และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงมีการนัดติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง

ในการให้คำปรึกษา แพทย์ควรสอบถามความต้องการและความคาดหวังของผู้รับบริการ พร้อมประเมินสภาพผิวและให้คำแนะนำถึงวิธีการที่เหมาะสมเป็นรายบุคคล โดยแพทย์ควรให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริงเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการรักษา รวมถึงข้อจำกัดและผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้ผู้รับบริการเข้าใจและตัดสินใจได้รอบคอบ

ส่วนหลังการรักษา ผู้รับบริการจะได้รับเอกสารคำแนะนำที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อทบทวนข้อปฏิบัติต่าง ๆ รวมถึงสัญญาณอาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์ ทั้งนี้ แพทย์และคลินิกที่พร้อมดูแลรับผิดชอบกรณีเกิดปัญหาภาวะแทรกซ้อนหลังการรักษา  ผู้รับบริการควรได้รับช่องทางติดต่อที่สะดวกและชัดเจน เพื่อสอบถามข้อสงสัยหรือแจ้งอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นหลังทำหัตถการได้ทันที

สรุป

คำถามว่า ฟิลเลอร์ใต้ตาอันตรายไหม? หมอขอตอบแบบนี้ค่ะ ว่าเพื่อลดความเสี่ยงจากการทำหัตถการ ควรเลือกแพทย์ที่ผ่านการอบรมและมีความรู้ความเข้าใจเฉพาะทางด้านนี้ และใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองจาก อย. ในสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐาน ถึงแม้จะมีความเสี่ยงที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากบริเวณใต้ตาเป็นพื้นที่บอบบางและมีเส้นเลือดมาก

กรณีเกิดปัญหาแทรกซ้อน ปัจจุบันมีวิธีแก้ไขที่ได้ผล คือ การฉีดสลายและการผ่าตัด ซึ่งต้องพิจารณาความเหมาะสมเป็นรายกรณีดังนั้น สำคัญที่สุดคือการเลือกแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรมเฉพาะทางและมีความชำนาญ รวมถึงสถานพยาบาลที่พร้อมรับมือกับภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

ก่อนตัดสินใจทำ ควรปรึกษาแพทย์ถึงข้อบ่งชี้ ข้อห้าม และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นให้ชัดเจน พร้อมให้ข้อมูลประวัติการแพ้ยาและโรคประจำตัว และเมื่อทำแล้ว ถ้าสังเกตเห็นความผิดปกติอะไร ก็ควรรีบแจ้งแพทย์ทันที อย่าปล่อยทิ้งไว้ เพื่อให้ได้รับการรักษาแก้ไขได้ทัน

ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง RWC Clinic

ทีมแพทย์ RWC

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า