แม้ว่าจะไม่ใช่เนื้องอกที่ทำให้เกิดอันตรายหรือส่งผลให้เป็นมะเร็ง แต่ ติ่งเนื้อ ก็ก่อให้เกิดความน่ารำคาญ และผิวหนังตามร่างกายดูไม่สวยงามอีกด้วย จึงไม่ควรปล่อยผ่านปัญหานี้ไป ในปัจจุบันก็มีคิดค้นนวัตกรรมเพื่อการรักษาติ่งเนื้ออย่างหลากหลายให้เราเลือก ให้เลือกวิธีแบบที่เราต้องการและสะดวกในการรับการรักษา
สารบัญ
- ติ่งเนื้อ คืออะไร
- สาเหตุของติ่งเนื้อ
- ปัจจัยในการที่ทำให้เกิดติ่งเนื้อ
- การรักษาติ่งเนื้อ
- การเลเซอร์เพื่อกำจัดติ่งเนื้อ
รู้จัก เลเซอร์หน้าใส Dual Yellow Laser ให้มากยิ่งขึ้น >> DUAL YELLOW LASER <<
ติ่งเนื้อ คืออะไร
ก้อนเนื้อนุ่มมีขนาดเล็กนูนขึ้น และยื่นออกมาเป็นติ่ง มีลักษณะก้างติดผิวหนัง และจะค่อย ๆ กลายเป็นสีเดียวกับผิวหนัง มักขึ้นที่คอ รักแร้ กลางลำตัว บริเวณผิวหนังที่ย่นทับกันหรือบริเวณที่มีการเสียดสีบ่อย ๆ จากผิวหนังของร่างกายที่เสียดสีกันเอง หรือวัตถุภายนอกมาเสียดสีกับผิวหนัง เช่น คอ หรือข้อพับต่าง ๆ
ติ่งเนื้อ เริ่มต้นจะมีลักษณะเล็กแบน อาจมีลักษณะเรียบหรือขรุขระ โดยจะนูนขึ้นมาจากพื้นผิวปกติโดยมีก้าน มักจะมีสีเนื้อหรือสีน้ำตาลเล็กน้อย โดยปกติมีขนาดตั้งแต่ 2 – 10 มิลลิเมตร ไปจนถึงขนาดใหญ่ 50 มิลลิเมตรเลยทีเดียว
สาเหตุของ ติ่งเนื้อ
ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิด ติ่งเนื้อ ที่ชัดเจน แต่มีการสันนิษฐานจากแพทย์ว่า ติ่งเนื้อเกิดจากผิวหนังล้อมรอบเส้นใยคอลลาเจนและเส้นเลือด ทั้งส่วนของหนังกำพร้าด้านนอกสุด หนังแท้ และเนื้อเยื่อไขมันด้านใน และยื่นออกมาเกิดเป็นติ่ง
ปัจจัยในการที่ทำให้เกิด ติ่งเนื้อ
มีการวิจัยได้ศึกษาพบว่า ติ่งเนื้อ มีความเกี่ยวเนื่องกับดัชนีมวลกายที่มาก ความอ้วน เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง การตั้งครรภ์ และพันธุกรรม
- ภาวะดื้ออินซูลิน : เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดติ่งเนื้อ เนื่องจากร่างกายดูดซึมน้ำตาลกลูโคสจากกระแสเลือดได้ไม่ดี
- ภาวะอ้วน : คนมีน้ำหนักตัวมากจะเผชิญภาวะอ้วน ซึ่งอาจจะป่วยเป็นโรคผิวหนังช้าง โดยโรคนี้จะเกิดติ่งเนื้อจำนวนมากตามผิวหนังบริเวณคอและรักแร้
- การตั้งครรภ์ : เนื่องจากผู้ที่ตั้งครรภ์จะมีระดับฮอร์โมนและน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น โดยติ่งเนื้ออาจเป็นสัญญาณของเกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อและภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล
- เชื้อ HPV : งานวิจัยบางชิ้นได้ศึกษาติ่งเนื้อ พบว่าติ่งเนื้อจำนวนร้อยละ 50 ปรากฏดีเอ็นเอของเชื้อ HPV ซึ่งหมายถึงเชื้อดังกล่าวอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดติ่งเนื้อ
- พันธุกรรม : บุคคลในครอบครัวเคยมีติ่งเนื้อขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อาจเสี่ยงเกิดติ่งเนื้อได้
การรักษาติ่งเนื้อ
อย่างที่ได้กล่าวไปว่า ติ่งเนื้อ ไม่ใช่ปัญหาที่อันตรายถึงแก่ชีวิตหรือทำให้เกิดผลข้างเคียงกับร่างกาย แต่ถ้าหากติ่งเนื้อเกิดการเสียดสีอย่างรุนแรง อาจจะทำให้ติ่งเนื้อถูกบิด และเกิดความเจ็บปวดได้
จี้ติ่งเนื้อ : ใช้ไฟจี้ติ่งเนื้อให้หลุดออกไป
ผ่าตัดติ่งเนื้อ : วิธีนี้จะช่วยกำจัดติ่งเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก็มีความเสี่ยงในการที่จะเกิดเลือดออกและมีบาดแผล
ใช้ความเย็นจัด : วิธีนี้จะรักษาติ่งเนื้อด้วยอุณหภูมิเย็นจัด โดยแพทย์จะสอดอุปกรณ์สำหรับรักษาเข้าไปข้างในเนื้อเยื่อที่อยู่ใกล้กับบริเวณที่เส้นประสาทถูกทำลาย และลดอุณหภูมิจนเย็นจัดเพื่อแช่แข็งเส้นประสาท จากนั้นติ่งเนื้อถูกแช่แข็ง ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดหรือระคายเคืองจากการเสียดสีได้
อ่านเพิ่มเติม : เลเซอร์ติ่งเนื้อด้วยเทคโนโลยีที่ดีที่สุด
การเลเซอร์เพื่อกำจัดติ่งเนื้อ
การรักษาด้วยการใช้เลเซอร์ เป็นการยิงเลเซอร์ไปยังเป้าหมายบนผิวหนังที่ต้องการทำลาย Dual Yellow Laser เป็นเลเซอร์อีกหนึ่งชนิดที่สามารถกำจัด ติ่งเนื้อ ได้เช่นกัน ซึ่งเป็นเลเซอร์ที่มีการผลิตแสงออกมา 2 ชนิด ใช้ในการรักษาปัญหาเม็ดสีที่ผิดปกติ
เลเซอร์แสงสีเหลือง (578 nm):
- กำจัดเม็ด Oxyhemoglobin ซึ่งเป็นสาเหตุของรอยแดงและเส้นเลือดฝอย ทำให้ผิวเรียบเนียนขึ้น
- ฆ่าเชื้อ Cutibacterium Acnes ที่ก่อให้เกิดสิวอักเสบ และลดขนาดต่อมไขมัน ช่วยควบคุมความมันบนใบหน้า
- กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใหม่ ฟื้นฟูโครงสร้างผิว ลดเลือนริ้วรอยและรอยแผลเป็น พร้อมกระชับรูขุมขน
เลเซอร์แสงสีเขียว (511 nm):
- มีผลโดยตรงต่อเม็ดสี Melanin จึงรักษาความผิดปกติของเม็ดสีส่วนเกินในผิวหนังชั้นบนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ช่วยลดเลือนจุดด่างดำ กระ ฝ้า และความหมองคล้ำของผิว
- เพิ่มความกระจ่างใสให้ผิวหน้า ทำให้เห็นผลลัพธ์ชัดเจนตั้งแต่การรักษาครั้งแรก
แต่เมื่อนำทั้ง 2 เลเซอร์มาใช้ร่วมกัน ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษามากขึ้นจะได้เลเซอร์ที่มีพลังงานสูงมากพอที่จะกำจัด ติ่งเนื้อ พร้อมทั้งกระตุ้นคอลลาเจนและอีลาสตินภายใต้ผิวหนัง ทำให้ใบหน้าขาวใสยิ่งขึ้น โดยไม่ทำให้รู้สึกเจ็บ ไม่มีผลข้างเคียงหลังทำ
อ่านเพิ่มเติม : ทำเลเซอร์ติ่งเนื้อที่ไหนดี
สรุป
ติ่งเนื้อ คือ ก้อนเนื้อเล็กนิ่ม ๆ ซึ่งเกิดขึ้นมาและเป็นติ่งอยู่บนผิวหนัง ไม่ใช่ปัญหาผิวหนังที่อันตราย แต่หากปล่อยไว้อาจจะทำให้เกิดความรำคาญและอาจะเกิดการระคายเคืองเมื่อถูกเสียดสีด้วยความรุนแรง ซึ่งมีวิธีแก้ไขปัญหานี้มากมาย โดยวิธีที่ไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงคือการทำเลเซอร์ Dual Yellow Laser