สำหรับใคร ๆ ที่ชอบรับประทานส้มตำ อาจสงสัยว่า ฉีดฟิลเลอร์กินปลาร้าได้ไหม หมอจะมาไขข้อข้องใจนี้สำหรับหลาย ๆ คนที่อยากกินส้มตำแล้วใส่น้ำปลาร้า หรือกินของต่าง ๆ ที่เรียกว่าของแสลง ว่าสามารถรับประทานได้หรือเปล่า
รู้จักความหมายของอาหารแสลง
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนนะคะว่าคำว่าของแสลงเป็นคำที่ใช้กันมาตามความเชื่อ โดยหมายถึงอาหารที่ทานเข้าไปแล้วทำให้อาการเจ็บป่วยหายช้า หรือทำให้การเจ็บป่วยแย่ลง อาจจะไปกระตุ้นให้เกิดอาการอักเสบของร่างกาย
อาหารโดยรวมที่เป็นของแสลง มักเป็นอาหารที่ทำให้ร่างกายย่อยได้ยากหรือดูดซึมสารอาหารได้ไม่เต็มที่ เช่น อาหารดิบ ๆ สุก ๆ เพราะจะทำให้อาหารย่อยยาก มีปัญหาของการดูดซึมสารอาหาร ทำให้ขาดสารอาหารมาบำรุงเลี้ยงร่างกาย และต้องสูญเสียพลังเพิ่มขึ้นในการทำงานของระบบย่อย เช่นเดียวกันกับอาหารที่ผ่านกระบวนการมาก เช่น อาหารทอด อาหารที่มีความมัน อาหารรสเผ็ดจัด เหล้า บุหรี่ ฯลฯ
อาหารแสลง มีอะไรบ้าง
อาหารแสลงที่ห้ามรับประทานหลังฉีดฟิลเลอร์ มีดังนี้
- อาหารดิบหรือปรุงไม่สุก จนมีผลต่อระบบย่อยอาหาร ส่งผลให้ปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ และอาเจียนได้
- อาหารร้อนเกินไป ทำให้ระบบย่อยทำงานหนัก จึงเกิดความร้อนและความชื้นสะสมในร่างกายมากเกินไป
- อาหารที่ปรุงแต่งมากเกินไป จนทำให้เสียคุณค่าอาหารทางธรรมชาติและหลักโภชนาการ
- การรับประทานอาหารไม่สอดคล้องกับภาวะเจ็บไข้ได้ป่วย หรือในขณะที่เป็นโรค
อาหารหมักดอง
มักเป็นอาหารที่ไม่แนะนำให้ทานกันหลังทำการรักษาทางการแพทย์เพราะเนื่องจาก กรรมวิธีของอาหารหมักดองมักไม่สะอาด 100 เปอเซนต์ อาจมีเชื้อโรคปะปน ทำให้เชื้อโรคนี้ไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของแผล ทำให้แผลบริเวณที่ทำหัตถการอาจเกิดการหายช้าหรืออักเสบได้ แพทย์จึงมักแนะนำให้งด หลังจากทำการรักษา 3-7 วันแล้วแต่ประเภทของการรักษา
ปลาร้าจัดเป็นหนึ่งในอาหารชนิดหมักดอง เป็นอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงหลังจากการฉีดฟิลเลอร์ เนื่องจากอาหารหมักดองผ่านกรรมวิธีที่ไม่สะอาด ทำให้เสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อโรค จึงอาจไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของแผลจากรอยเข็มในการฉีดฟิลเลอร์ รวมไปถึงทำให้เส้นเลือดขยายได้ เสี่ยงต่อการมีภาวะหลอดเลือดสูบฉีด ก่อให้เกิดการเกิดรอยช้ำได้ง่าย
รวมไปถึงปลาร้ามักนิยมใช้กับอาหารที่มีรสจัด เช่น ส้มตำ หรือ ยำ ซึ่งอาหารที่มีรสเค็มจัดหรือเผ็ดจัด มักจะดูดน้ำกลับเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งจะส่งผลให้หน้ารวมถึงลำตัวอาจดูบวม หรือเรียกว่าภาวะบวมน้ำได้ แพทย์จึงมักแนะนำให้งด หลังจากทำการรักษา 3-7 วัน
แอลกอฮอล์
แอลกอฮอล์มีผลโดยตรงกับการบวมของฟิลเลอร์ อาการบวมในที่นี่ไม่ได้เกิดผลกับการที่ฟิลเลอร์อุ้มน้ำเพิ่มมากขึ้นแต่อย่างใด แต่เป็นอาการอักเสบบวม จึงเป็นเครื่องดื่มที่แนะนำให้หลีกเลี่ยงหลักจากทำหัตถการทางการ แพทย์เพราะอาจส่งผลให้ทำให้แผลหายช้าและเกิดปฏิกิริยาอักเสบบริเวณแผลได้ อีกทั้งการดื่มแอลกอฮอล์จะไปมีผลรบกวนการทำงานของยาบางชนิด ที่เกี่ยวข้องกับระบบการทำงานของตับ
อาหารที่ควรทานหลังฉีดฟิลเลอร์
หลังฉีดฟิลเลอร์ ควรรับประทานอาหารที่ประกอบไปด้วยวิตามิน เพราะจะมีส่วนช่วยทำให้แผลหายเร็ว แต่ไม่แนะนำให้รับประทานวิตามินจำพวกอาหารเสริม เพราะวิตามินเหล่านั้นผ่านการสังเคราะห์และกระบวนการต่าง ๆ ทำให้ไม่เหมาะสมสำหรับการทานหลังทำศัลยกรรมต่าง ๆ
- วิตามินซี ซึ่งช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อโปรตีนสำคัญที่ใช้สร้างผิวหนัง รักษาบาดแผล พบมากในผลไม้จำพวก ฝรั่ง ลิ้นจี มะละกอ ส้ม
- วิตามินเอ มีส่วนช่วยกระบวนการสร้างเนื้อเยื่อเช่นเดียวกันกับวิตามินซี หากขาดจะทำให้แผลติดเชื้อ แผลหายซ้ำ ได้แก่ ปลา ผักใบเขียว แตงโม มะละกอ
- สังกะสี สังเคราะห์โปรตีนและเนื้อเยื่อ ช่วยผลิตชลล์ผิวใหม่และสมานแผล พบมากในปลาและอาหารทะเล
- ธาตุเหล็ก เป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปยังบาดแผล พบมากในปลา ผักโขม ผักบุ้ง คะน้า ถั่ว สามารถเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กด้วยการรับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูงร่วมด้วย
- ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว รวมไปถึงอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำจำพวก ซุป หรือผลไม้ เช่น แตงโม เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการซ่อมแซมบาดแผลแล้วยังช่วยทำให้ฟิลเลอร์ฟูขึ้น อุ้มน้ำได้ดีขึ้น
สรุป
ทั้งหมดนี้คงตอบคำถามได้ว่า หลังฉีดฟิลเลอร์กินปลาร้าได้ไหม คำตอบก็คือหมอไม่แนะนำค่ะ เพราะปลาร้าอยู่ในกลุ่มอาหารหมักดอง หมอแนะนำให้งดสัก 7 วันเป็นอย่างน้อยค่ะ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับคนอยากทานส้มตำปูปลาร้านะคะ