อาการออฟฟิศซินโดรม โรคยอดนิยมที่หนุ่มสาววัยทำงานมักจะเป็นกัน เนื่องจากการที่ต้องทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ หรือนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน ไม่ค่อยได้ลุกเดิน และเคลื่อนไหวร่างกาย ทำให้เสี่ยงต่ออาการปวดหลัง กล้ามเนื้อตึงแน่น บริเวณคอ บ่า ไหล่ เป็นต้น
สารบัญ
- โบท็อกซ์ คืออะไร
- สาเหตุของการเกิดออฟฟิศซินโดรม
- อาการออฟฟิศซินโดรมที่พบบ่อย
- การรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วย การฉีดโบท็อกซ์
- ข้อดีของการฉีดโบท็อกซ์แก้ออฟฟิศซินโดรม
- ฉีดโบท็อกซ์แก้ออฟฟิศซินโดรม อยู่ได้นานแค่ไหน
- ฉีดโบท็อกซ์ ออฟฟิศซินโดรม อันตรายไหม
- วิธีการรักษาออฟฟิศซินโดรม แบบอื่น ๆ
ทำความรู้จักหัตถการยกกระชับใบหน้า >>> Thermage คืออะไร <<<
โบท็อกซ์ คืออะไร
โบท็อกซ์ (Botox) หรือ โบทูลินั่ม ท็อกซิน เอ ( Botulinum toxin type A) เป็นโปรตีนที่สกัดได้จากการสร้างของแบคทีเรีย “คลอสตริเดียม โบทูลินั่ม (Clostridium botulinum) หากได้รับมากเกินไป อาจทำให้อาหารเป็นพิษ หรือเกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง แต่ถ้าได้รับในปริมาณที่พอดีเหมาะกับร่างกาย
สำหรับวงการแพทย์ เริ่มแรกได้นำสารโบท็อกซ์นี้มาใช้ในการรักษาโรคตาเหล่ ตาเข และถูกพัฒนาต่อมาใช้ในวงการเสริมความงาม ช่วยลดริ้วรอย ยกกระชับหน้า และลำคอ รวมถึงการลดขนาดของกล้ามเนื้อบริเวณต่าง ๆ เช่น น่อง กราม และบ่า ไหล่
สาเหตุของการเกิดออฟฟิศซินโดรม
สาเหตุการเกิดออฟฟิสซินโดรมเกิดจากการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน หรืออยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสมต่อเนื่อง ไม่ค่อยได้ลุกเดิน หรือเคลื่อนไหวร่างกาย
ทั้งนี้ ยังสามารถเกิดได้จากสภาพแวดล้อมหรืออุปกรณ์ในการทำงานที่ไม่เหมาะสม โต๊ะเก้าอี้ที่ใช้ทำงานสูงหรือต่ำจนเกินไป ไม่เหมาะกับโครงสร้างของร่างกาย และสภาพร่างกายอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่ออาการเจ็บป่วย อาทิ ความเครียดจากการทำงาน การพักผ่อนที่ไม่เพียง การได้รับสารอาหารไม่ครบ หรือทานอาหารไม่ตรงเวลา
ส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยหรือชาตามบริเวณต่าง ๆ และอาจส่งผลให้เกิดอาการของโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อตามมาได้
- อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ : เป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด มักจะมีอาการปวดเมื่อย ปวดร้าวกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ รวมถึงสะบักหลัง
- อาการปวดหลัง : เกิดจากท่านั่ง หรือ ท่ายืนที่ไม่เหมาะสมระหว่างการทำงาน จนทำให้กล้ามเนื้อเกิดการบาดเจ็บ
- อาการปวดหัว : เกิดจากการลุกลามของอาการบ่าตึง ไหล่แข็ง ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปยังบริเวณศีรษะได้ บ้างนั่งทำงานหน้าคอม แล้วจ้องหน้าจอจนตาแห้ง เหล่านี้ส่งผลให้ปวดหัว หรือไมเกรนได้
- อาการนิ้วล็อค : เกิดได้กับคนที่ให้นิ้วใดนิ้วหนึ่งในการทำงานเป็นเวลานาน เช่น ช่างฝีมือ แม่บ้าน หรือคนที่ชอบเล่นเกมส์มือถือ
- อาการเอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ : เกิดจากการได้รับบาดเจ็บบริเวณเดิม ๆ ซ้ำ ๆ จนรู้สึกปวด บวมบริเวณเอ็นกล้ามเนื้อ เช่น บริเวณข้อมือ หัวไหล่ เข่า ข้อเท้า
- อาการเส้นประสาทถูกกดทับ : ทำให้เกิดอาการชา เหน็บ หรือปวดร้าว บริเวณ นิ้ว แขน ขา
หลายคนคงคุ้นเคยกับการฉีดโบท็อกเพื่อปรับรูปหน้าให้เรียวเล็ก หรือฉีดเพื่อลดเลือนริ้วรอย ทว่าโบท็อกซ์สามารถรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม แก้อาการปวดเมื่อยได้อย่างตรงจุด เนื่องจาก สาร Botulinum Toxin A เป็นโปรตีนบริสุทธิ์ สกัดมาจากแบคทีเรียที่มีประโยชน์
เดิมวงการแพทย์นำสารนี้มาใช้รักษาโรค เช่น อาการปวดหัวไมเกรน โรคกล้ามเนื้อกระตุก กล้ามเนื้อเกร็งผิดปกติ ตาเหล่ ตาเข เป็นต้น และต่อมาจึงได้มีการพัฒนามาใช้ในวงการแพทย์ผิวหนัง เพื่อความงามมากขึ้นแบบในปัจจุบัน โดยการทำงานของโบท็อกซ์จะออกฤทธิ์ต่อส่วนที่เป็นกล้ามเนื้อ เมื่อฉีดเข้าไป สารโบท็อกซ์จะทำให้กล้ามเนื้อที่หดเกร็งมีความแข็ง อ่อนแรง ขยับได้น้อยลงชั่วคราว จนกล้ามเนื้อเกิดการคลายตัว นิ่มลงในที่สุด
ผลลัพธ์ของการฉีดโบท็อกซ์จะอยู่ได้นานประมาณ 4-6 เดือน หรือมากกว่านั้น จนกว่าสารโบท็อกซ์ที่ฉีดไปจะสลายตัวหมด ทั้งนี้ยังสามารถกลับมาฉีดเพิ่มเพื่อคงผลลัพธ์ให้อยู่นานขึ้น แต่ควรเว้นระยะในการฉีดแต่ละครั้งประมาณ 3-4 เดือน ไม่ฉีดซ้ำ ๆ ติดกันเกินไป เพื่อไม่ให้เกิดผลข้างเคียง อย่างอาการดื้อโบ หรือดื้อโบท็อกซ์
การฉีดโบท็อกซ์ เพื่อแก้ปัญหาโรคออฟฟิศซินโดรม ไม่เป็นอันตรายค่ะ เนื่องจาก สาร Botulinum Toxin A ได้ผ่านการรับรองจาก USFDA เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ ก่อนการตัดสินใจฉีดต้องศึกษาข้อมูล และเลือกคลินิกที่ได้มาตรฐาน ไม่ว่าจะฉีดโบท็อกซ์บริเวณไหน บนใบหน้า หรือ ร่างกาย ก็ควรเลือกใช้โบท็อกซ์แท้ที่มีคุณภาพ แพทย์ต้องมีความเชี่ยวชาญ เพื่อความปลอดภัย และไม่เป็นอันตรายภายหลัง
วิธีการรักษาออฟฟิศซินโดรม แบบอื่น ๆ
ปัญหาออฟฟิศซินโดรม สามารถแก้ได้หลากหลายวิธีด้วยกัน ขึ้นอยู่กับการเลือกและตัดสินใจของคนไข้เอง และสำหรับใครที่มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ มีวิธีอะไรบ้าง ดังนี้
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนั่งทำงานให้ถูกต้อง
- เปลี่ยนโต๊ะเก้าอี้ให้เหมาะกับสมรรถภาพของร่างกาย
- ระหว่างวันลองพัก และเคลื่อนไหวร่างกายให้เยอะ ๆ
- การทำกายภาพบำบัด
- รับประทานยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ
- การปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และเข้ารับการรักษาให้ถูกวิธี
ทั้งนี้ อาจจะไม่หายขาดหรืออาจจะต้องใช้เวลาในการรักษา ฉีดโบท็อกซ์เพียงครั้งเดียว แต่ผลลัพธ์อยู่ได้นาน 4-6 เดือน ต่างจากการทำกายภาพบำบัดที่ต้องทำบ่อยกว่า
สรุป
การฉีดโบท็อกซ์ (Botox) สามารถแก้ปัญหาออฟฟิศซินโดรม แก้อาการปวดเมื่อยให้หายได้ เนื่องจาก สาร Botulinum Toxin A เป็นโปรตีนบริสุทธิ์ สกัดมาจากแบคทีเรียที่มีประโยชน์ เมื่อฉีดเข้าไป สารโบท็อกซ์จะทำให้กล้ามเนื้อที่หดเกร็งมีความแข็ง อ่อนแรง ขยับได้น้อยลงชั่วคราว จนกล้ามเนื้อเกิดการคลายตัว นิ่มลงในที่สุด ปลอดภัยและสามารถอยู่ได้นาน 4-6 เดือนจนกว่าสารจะสลายหมด